นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๓
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี พ.ศ.๒๕๖๓
โดย สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
คํานํา
ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๔๙ ในมาตรา ๕ มาตรา ๗ และมาตรา ๘ ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๕ แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทํา นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อให้การดําเนินกิจกรรมหรือการ ให้บริการต่างๆ มีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ ตลอดจนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากลและตาม ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๕๓ กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีนโยบายใน การรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี จึงได้จัดทํานโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศ ขึ้นเพื่อให้มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีแนวทางปฏิบัติในการควบคุมการ ปฏิบัติงานและรักษาความปลอดภัยด้านระบบสารสนเทศ เพื่อให้สอดคล้องตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าว ซึ่ง เป็นสิ่งสําคัญที่ผู้ปฏิบัติงานต้องถือปฏิบัติเพื่อให้เกิดความมั่นคงปลอดภัยในการขับเคลื่อนพันธกิจและการ ให้บริการของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี อีกทั้งยังเป็นการสร้างความเชื่อมั่นให้กับผู้ใช้บริการและผู้มี ส่วนเกี่ยวข้องในทุกภาคส่วนและเพื่อสร้างความน่าเชื่อถือให้กับมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีต่อไป
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี กันยายน ๒๕๖๓
สารบัญ
ความเป็นมา ๑
คํานิยาม ส่วนที่ ๑
๔ นโยบายควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานระบบสารสนเทศ ๘
(Information Access Control Policy)
๑. การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัย (Information ๘
Access Control)
๒. การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน (User Access Management) ๑๒ ๓. การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน (User Responsibilities) ๑๕ ๔. การควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Network Access Control) ๑๗ ๕. การใช้งานอินเทอร์เน็ต (Use of the Internet) ๒๐ ๖. การบริหารจัดการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Management) ๒๐ ๗. การใช้งานและการควบคุมการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail ๒๑
Usage and Control)
๘. การควบคุมการเข้าถึงระบบปฏิบัติการ (Operating System Access Control) ๒๒ ๙. การควบคุมการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Access Control) ๒๓ ๑๐. การควบคุมการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานจัดไว้ให้ใช้งานส่วนรวม ๒๔
(Public Computer Access Control)
๑๑. การควบคุมการเข้าถึงโปรแกรมประยุกต์และระบบสารสนเทศ ๒๔
(Application and Information System Access Control)
๑๒. การบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (Traffic Log Management) ๒๗ ๑๓. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลระบบ (System Administrator Responsibilities) ๒๘ ๑๔. การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Use of Social Network) ๒๙ ๑๕. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม (Physical and ๓๐
Environmental Security)
นโยบายการจัดทําระบบสํารองข้อมูลและการกู้คืน (Backup and Recovery Policy) ๓๒ นโยบายการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงสารสนเทศ ๓๔ (Verification and Information Risk Assessment Policy) นโยบายการสร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ๓๖ (Information Security Awareness Policy)
ส่วนที่ ๒ ส่วนที่ ๓
ส่วนที่ ๔
หน้า
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑
๑. หลักการและเหตุผล
ความเป็นมา
ตามที่พระราชกฤษฎีกากําหนดหลักเกณฑ์และวิธีการในการทําธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ภาครัฐ พ.ศ. ๒๕๔๙ ในมาตรา ๕ มาตรา ๗ และมาตรา ๘ ซึ่งออกโดยอาศัยอํานาจตามความในมาตรา ๓๕ แห่ง พระราชบัญญัติว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ พ.ศ.๒๕๔๔ ได้กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดทํา นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ เพื่อให้การดําเนินกิจกรรมหรือการ ให้บริการต่างๆ มีความมั่นคงปลอดภัยและเชื่อถือได้ ตลอดจนมีมาตรฐานเป็นที่ยอมรับในระดับสากล และตาม ประกาศคณะกรรมการธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์ เรื่อง แนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.๒๕๕๓ กําหนดให้หน่วยงานของรัฐต้องจัดให้มีนโยบายใน การรักษาความปลอดภัยด้านสารสนเทศของหน่วยงานเป็นลายลักษณ์อักษร
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจึงได้กําหนดแนวนโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยด้านสารสนเทศขึ้น เพื่อให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี เป็นไป อย่างเหมาะสม มีประสิทธิภาพ ครอบคลุมด้านการรักษาความมั่นคงปลอดภัยให้สามารถดําเนินงานได้อย่าง ต่อเนื่อง และป้องกันภัยคุกคามต่างๆ และการปฏิบัติตามเจตนารมณ์ของพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวได้อย่าง ถูกต้องและเหมาะสม รวมถึงยังได้เตรียมความพร้อมตามกฎหมายและประกาศด้านเทคโนโลยีสารสนเทศอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง และการป้องกันปัญหาที่อาจจะเกิดขึ้นจากการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศในลักษณะที่ ไม่ถูกต้อง ตลอดจนการถูกคุกคามจากภัยต่างๆ ด้วย
๒. วัตถุประสงค์
มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีได้กําหนดนโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัย ด้านสารสนเทศ โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้
๒.๑. เพื่อกําหนดมาตรฐานแนวทางปฏิบัติของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีเป็นไปตามกฎหมายและระเบียบ ปฏิบัติที่เกี่ยวข้อง
๒.๒. เพื่อให้เกิดความเชื่อมั่นด้านความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีและทําให้การดําเนินงานต่างๆ เป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และประสิทธิผล
๒.๓. เพื่อเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้ผู้บริหาร คณาจารย์ บุคลากรและนักศึกษา ให้มีความรู้ ความเข้าใจและตระหนักถึงความสําคัญและถือปฏิบัติตาม นโยบายนี้อย่างเคร่งครัด
๒.๔. เพื่อให้มีระบบตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอย่างสม่ําเสมอทุกปอีย่างต่อเนื่อง
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒
๒.๕ ให้อธิการบดีซึ่งดํารงตําแหน่งผู้บริหารระดับสูงของมหาวิทยาลัย(CEO)เป็นผู้รับผิดชอบต่อ ความเสี่ยง ความเสียหายหรืออันตรายที่เกิดขึ้น ในกรณีที่ระบบคอมพิวเตอร์ หรือข้อมูลสารสนเทศเกิดความ เสียหาย หรืออันตรายใดๆ แก่มหาวิทยาลัย หรือผู้หนึ่งผู้ใด อันเนื่องมาจากความบกพร่อง ละเลย หรือฝ่าฝืน การปฏิบัติตามนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ
๒.๖ นโยบายนี้ต้องมีการดําเนินการตรวจสอบประเมินรวมทั้งปรับปรุงนโยบายและแนวปฏิบัติให้ เป็นปัจจุบันอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง หรือเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงที่สําคัญต่อมหาวิทยาลัย
๓. เป้าหมาย
เป้าหมายในการจัดทําแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ราชภัฏสุราษฎร์ธานีมีรายละเอียดดังต่อไปนี้
๓.๑ ส่งเสริมและสนับสนุนการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้ตอบสนองต่อพันธกิจ และนโยบายของมหาวิทยาลัย
๓.๒ เน้นกํากับดูแลการดําเนินงานเพื่อบริหารจัดการให้ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศมีความถูกต้อง สมบูรณ์และพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
๓.๓ เผยแพร่ความรู้ ความเข้าใจเพื่อสร้างความตระหนักให้บุคลากรและผู้เกี่ยวข้องทุกระดับทั้ง ภายในมหาวิทยาลัยและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
๓.๔ ติดตาม ตรวจสอบการดําเนินงาน และปรับปรุงแนวนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความ มั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศให้สอดคล้องตามการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
๔. องค์ประกอบของนโยบาย
นโยบายในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานีจัดทําขึ้น เพื่อกําหนดแนวทางและวิธีการปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ให้สอดคล้องและ เป็นไปตามนโยบายที่กําหนดไว้โดยมีรายละเอียด ดังต่อไปนี้
คํานิยาม
ส่วนที่ ๑ นโยบายควบคุมการเข้าถึงการใช้งานสารสนเทศ (Information Access Control Policy)
Control)
๑. การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัย (Information Access
๒. การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน (User Access Management) ๓. การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน (User Responsibilities) ๔. การควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Network Access Control)
๕. การใช้งานอินเทอร์เน็ต (Use of the Internet)
๖. การบริหารจัดการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server management)
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓
๗. การใช้งานและการควบคุมการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail Usage and Control)
๘. การควบคุมการเข้าถึงระบบปฏิบัติการ (Operating System Access Control)
๙. การควบคุมการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Access Control)
๑๐. การควบคุมการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานจัดไว้ให้ใช้งานส่วนรวม (Public
Computer Access Control)
๑๑. การควบคุมการเข้าถึงโปรแกรมประยุกต์และระบบสารสนเทศ (Application and
Information System Access Control)
๑๒. การบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (Traffic Log
Management)
๑๓. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลระบบ (System Administrator
Responsibilities)
๑๔. การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Use of Social Network)
๑๕. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม (Physical and Environmental Security)
ส่วนที่ ๒ นโยบายการจัดทําระบบสํารองข้อมูลและการกู้คืน (Backup and Recovery Policy)
ส่วนที่ ๓ นโยบายการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงสารสนเทศ (Verification and Information Risk Assessment Policy)
ส่วนที่ ๔ นโยบายการสร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Information Security Awareness Policy)
องค์ประกอบของนโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศของ มหาวิทยาลัยแต่ละส่วนที่กล่าวข้างต้นจะประกอบด้วยวัตถุประสงค์ รายละเอียดของมาตรฐาน (Standard) แนวทางปฏิบัติ (Guideline) และขั้นตอนวิธีการปฏิบัติ (Procedure) ในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเพื่อที่จะทําให้มหาวิทยาลัยมีมาตรการในการรักษาความมั่นคง ปลอดภัยระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารอยู่ในระดับที่ปลอดภัย ช่วยลดความเสียหายต่อการ ดําเนินงาน ทรัพย์สิน และเจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย ทําให้สามารถดําเนินงานได้อย่างมั่นคงปลอดภัยนโยบาย การเข้าใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยนี้จัดเป็นมาตรฐานด้านความปลอดภัยในการใช้งาน ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัย ซึ่งผู้ใช้งาน เจ้าหน้าที่ของมหาวิทยาลัย และหน่วยงานภายนอกต้องปฏิบัติตามอย่างเคร่งครัด
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๔
คํานิยาม
คํานิยามที่ใช้ในโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศนี้ ประกอบด้วย
(๑) มหาวิทยาลัย หมายถึง มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(๒) การรักษาความมั่นคงปลอดภัย หมายถึง การรักษาความมั่นคงปลอดภัยสําหรับระบบ เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(๓) ผู้บังคับบัญชา หมายถึง ผู้มีอํานาจสั่งการตามโครงสร้างการบริหารของมหาวิทยาลัย
(๔) ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ หมายถึง ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ภายใต้สังกัด สํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(๕) ผู้บริหารระดับสูงด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (CIO) หมายถึง ผู้บริหาร/ผู้บริหาร ระดับสูงที่ได้รับมอบหมายจากอธิการบดีให้ดูแลรับผิดชอบด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ มหาวิทยาลัยและมีคุณสมบัติตาม มติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ ๙ มิถุนายน ๒๕๔๑
(๖) ผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ หมายถึง ผู้อํานวยการสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ หรือรองผู้อํานวยการสํานักวิทยบริการและเทคโนโลยีสารสนเทศ (ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ) มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(๗) มาตรฐาน (Standard) หมายถึง บรรทัดฐานที่บังคับใช้ในการปฏิบัติการจริงเพื่อให้ได้ตาม วัตถุประสงค์หรือเป้าหมาย
(๘) วิธีการปฏิบัติ (Procedure) หมายถึง รายละเอียดที่บอกขั้นตอนเป็นข้อๆ ที่ต้องนํามาปฏิบัติ เพื่อให้ได้มาซึ่งมาตรฐานที่ได้กําหนดไว้ตามวัตถุประสงค์
(๙) แนวทางปฏิบัติ (Guideline) หมายถึง แนวทางที่ไม่ได้บังคับให้ปฏิบัติ แต่แนะนําให้ปฏิบัติตาม เพื่อให้สามารถบรรลุเป้าหมายได้ง่ายขึ้น
(๑๐) ผู้ใช้งาน (User) หมายถึง บุคคลที่ได้รับอนุญาต (Authorized user) ให้สามารถเข้าใช้บริการ ใช้งานบริหาร หรือดูแลรักษาระบบเทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี โดยมีสิทธิและ หน้าที่ขึ้นอยู่กับบทบาท (Role) ซึ่งมหาวิทยาลัยกําหนดไว้ ดังนี้
(๑๐.๑) ผู้บริหาร หมายถึง อธิการบดี รองอธิการบดี คณบดี ผู้อํานวยการสถาบัน สํานัก ศูนย์หรือ หัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ผู้ช่วยอธิการบดี รองคณบดี รองผู้อํานวยการสถาบัน สํานัก ศูนย์ หรือรองหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่าคณะ ผู้อํานวยการสํานักงานอธิการบดี ผู้อํานวยการกอง หรือหัวหน้าหน่วยงานที่เรียกชื่ออย่างอื่นที่มีฐานะเทียบเท่า กองตามที่สภามหาวิทยาลัยกําหนด
(๑๐.๒) ผู้ดูแลระบบ (System Administrator) หมายถึง เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายจาก ผู้บังคับบัญชาให้มีหน้าที่รับผิดชอบในการดูแลรักษาระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ระบบฐานข้อมูล และผู้พัฒนาระบบสารสนเทศ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๕
(๑๐.๓) เจ้าหน้าที่ หมายถึง ข้าราชการ พนักงานมหาวิทยาลัย พนักงานราชการ ลูกจ้างประจํา ลูกจ้างชั่วคราว สังกัดมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(๑๐.๔) นักศึกษา หมายถึง นักศึกษาของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
(๑๑) สิทธิของผู้ใช้งาน(UserAccessRight)หมายถึงสิทธิทั่วไปสิทธิจําเพาะสิทธิพิเศษและสิทธิ
อื่นใด ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศของคณะ หน่วยงาน หรือ มหาวิทยาลัย
(๑๒) หน่วยงานภายนอก หมายถึง องค์กรหรือหน่วยงานภายนอก ที่มหาวิทยาลัยอนุญาตให้มีสิทธิ
ในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลหรือทรัพย์สินต่าง ๆ ของคณะ หน่วยงาน หรือ มหาวิทยาลัย โดยจะได้รับสิทธิใน การใช้ระบบตามอํานาจหน้าที่ และต้องรับผิดชอบในการรักษาความลับของข้อมูล
(๑๓) ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ (Information Technology System) หมายถึง ระบบงานของ มหาวิทยาลัยที่นําเอาเทคโนโลยีสารสนเทศ ระบบคอมพิวเตอร์ และระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์มาช่วย ในการสร้างสารสนเทศที่มหาวิทยาลัยสามารถนํามาใช้ประโยชน์ในการวางแผน การบริหาร การสนับสนุนการ ให้บริการ การพัฒนา และควบคุมการติดต่อสื่อสาร ซึ่งมีองค์ประกอบดังนี้
(๑๓.๑) ระบบคอมพิวเตอร์ หมายถึง ฮาร์ดแวร์ (Hardware) ซอฟต์แวร์ (Software) และ บุคลากรทางคอมพิวเตอร์ (Peopleware) รวมถึงอุปกรณ์ หรือชุดอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมการทํางาน เข้าด้วยกัน โดยได้มีการกําหนดคําสั่ง ชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่นใด และแนวทางปฏิบัติงานให้อุปกรณ์หรือชุดอุปกรณ์ ทําหน้าที่ประมวลผลข้อมูลโดยอัตโนมัติ
(๑๓.๒) ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ (Computer Network System) หมายถึง ระบบที่ สามารถใช้ในการติดต่อสื่อสาร หรือการส่งข้อมูลและสารสนเทศระหว่างระบบเทคโนโลยีสารสนเทศต่างๆ ของ มหาวิทยาลัยได้ เช่น สายสัญญาณใยแก้วนําแสง (Fiber Optic) ระบบแลน (LAN) ระบบอินทราเน็ต (Intranet) ระบบอินเทอร์เน็ต (Internet) เป็นต้น
▪ ระบบ LAN และระบบ Intranet หมายถึง ระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่ เชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์ต่างๆ ภายในหน่วยงานเข้าด้วยกัน เป็นเครือข่ายที่มีจุดประสงค์เพื่อการ ติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลและสารสนเทศภายในมหาวิทยาลัย
▪ ระบบ Internet หมายถึง ระบบเครือข่ายอิเล็กทรอนิกส์ที่เชื่อมต่อระบบ เครือข่ายคอมพิวเตอร์ของหน่วยงานเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตทั่วโลก
(๑๓.๓) ข้อมูล (Data) หมายถึง ข้อมูล ข้อมูลส่วนบุคคล ข้อความคําสั่งชุดคําสั่ง หรือสิ่งอื่น ใดที่อยู่ในระบบคอมพิวเตอร์ในสภาพที่ระบบคอมพิวเตอร์อาจประมวลผลได้ และให้หมายความรวมถึงข้อมูล อิเล็กทรอนิกส์ตามกฎหมายว่าด้วยธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
(๑๓.๔) สารสนเทศ (Information) หมายถึง ข้อเท็จจริงที่ได้จากข้อมูลนํามาผ่านการ ประมวลผล การจัดระเบียบให้ข้อมูลซึ่งอาจอยู่ในรูปของตัวเลข ข้อความ หรือภาพกราฟิก ให้เป็นระบบที่ผู้ใช้ สามารถเข้าใจได้ง่ายและสามารถนําไปใช้ประโยชน์ในการบริหาร การวางแผน การตัดสินใจ และอื่นๆ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๖
(๑๔) พื้นที่ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ(InformationSystemWorkspace)หมายถึงพื้นที่ ที่หน่วยงานอนุญาตให้มีการใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ โดยแบ่งเป็น
(๑๔.๑) พื้นที่ทํางานทั่วไป (General Working Area) หมายถึง พื้นที่ติดตั้งเครื่อง คอมพิวเตอร์ส่วนบุคคล และคอมพิวเตอร์พกพาที่ประจําโต๊ะทํางาน
(๑๔.๒) พื้นที่ทํางานของผู้ดูแลระบบ (System Administrator Area)
(๑๔.๓) พื้นที่ติดตั้งอุปกรณ์ระบบเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบเครือข่าย (IT Equipment or Network Area)
(๑๔.๔) พื้นที่จัดเก็บข้อมูลคอมพิวเตอร์ (Data Storage Area)
(๑๕) เจ้าของข้อมูลหมายถึงผู้ได้รับมอบอํานาจจากผู้บังคับบัญชาให้รับผิดชอบข้อมูลของระบบงาน
โดยเจ้าของข้อมูลเป็นผู้รับผิดชอบข้อมูลนั้น ๆ หรือได้รับผลกระทบโดยตรงหากข้อมูลเหล่านั้นเกิดสูญหาย (๑๖) สินทรัพย์หมายถึงข้อมูลระบบข้อมูลและทรัพย์สินด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร
หรือสิ่งใดก็ตามที่มีคุณค่าของหน่วยงาน เช่น อุปกรณ์ระบบเครือข่าย ซอฟต์แวร์ที่มีลิขสิทธิ์ เป็นต้น
(๑๗) จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail) หมายถึง ระบบที่บุคคลใช้ในการรับ-ส่งข้อความระหว่างกัน โดยผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์และเครือข่ายที่เชื่อมโยงถึงกัน ข้อมูลที่ส่งเป็นได้ทั้งตัวอักษร ภาพถ่าย ภาพกราฟิก ภาพเคลื่อนไหว และเสียง โดยผู้ส่งสามารถส่งข่าวสารไปยังผู้รับคนเดียว หรือหลายคน มาตรฐานที่ใช้ในการ รับ-ส่งข้อมูลชนิดนี้ ได้แก่ SMTP POP๓ และ IMAP เป็นต้น โดยชื่อที่ใช้ในการรับส่งจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
จะมีรูปแบบซึ่งประกอบไปด้วย ๒ ส่วน ได้แก่ ชื่อผู้ใช้ และชื่อโดเมน เช่น user@sru.ac.th
(๑๘) บัญชีผู้ใช้งาน (Account) หมายถึง บัญชีรายชื่อผู้เข้าถึงและรหัสผ่านในการใช้งานระบบ
เทคโนโลยีสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
(๑๙) รหัสผ่าน (Password) หมายถึง ตัวอักษรหรืออักขระหรือตัวเลขที่ใช้เป็นเครื่องมือในการ
ตรวจสอบยืนยันตัวบุคคลเพื่อควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและระบบข้อมูลในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยของ ข้อมูล และระบบเทคโนโลยีสารสนเทศ
(๒๐) ชุดคําสั่งไม่พึงประสงค์ หมายถึง ชุดคําสั่งที่มีผลทําให้คอมพิวเตอร์ หรือระบบคอมพิวเตอร์ หรือชุดคําสั่งอื่นเกิดความเสียหาย ถูกทําลาย ถูกแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือเพิ่มเติม ขัดข้องหรือปฏิบัติงานไม่ตรง ตามคําสั่งที่กําหนดไว้
(๒๑) ภัยคุกคาม (Threats) หมายถึง เหตุการณ์ต่างๆ ที่เป็นไปได้หรือเหตุการณ์ที่ไม่พึงประสงค์ ซึ่งอาจส่งผลกระทบ หรือสร้างความเสียหายต่อระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
(๒๒) ช่องโหว่ (Vulnerabilities) หมายถึง จุดอ่อนของทรัพย์สินหรือมาตรการ ที่เป็นช่องทางเกิด ปัจจัยเสี่ยงจากภัยคุกคามที่มีผลกระทบต่อทรัพย์สินหรือต่อระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
(๒๓) การเข้าถึงหรือควบคุมการใช้งานสารสนเทศหมายความว่าการอนุญาตการกําหนดสิทธิหรือ การมอบอํานาจให้ผู้ใช้งาน เข้าถึงหรือใช้งานเครือข่าย หรือระบบสารสนเทศทั้งทางอิเล็กทรอนิกส์ และ ทางกายภาพ รวมทั้งการอนุญาตเช่นว่านั้นสําหรับบุคคลภายนอกตลอดจนอาจกําหนดข้อปฏิบัติเกี่ยวกับการ เข้าถึงโดยมิชอบเอาไว้ด้วยก็ได้
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๗
(๒๔) ความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ หมายถึง การธํารงไว้ซึ่งความลับ (Confidentiality) ความถูกต้องครบถ้วน (integrity) และสภาพพร้อมใช้งาน (availability) ของสารสนเทศ รวมทั้งคุณสมบัติอื่น อาทิ ความถูกต้องแท้จริง (authenticity) ความรับผิด (accountability) การห้ามปฏิเสธความรับผิด (nonrepudiation) และความน่าเชื่อถือ (reliability)
(๒๕) เหตุการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัย หมายถึง เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับระบบคอมพิวเตอร์ และ ระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย หรือเหตุการณ์ที่สงสัยว่าจะเป็นจุดอ่อน หรืออาจสร้างความ เสียหายและส่งผลให้
(๒๕.๑) เกิดการหยุดชะงักต่อกระบวนการหรือขั้นตอนการปฏิบัติงานสําคัญ เช่น ระบบงาน สารสนเทศของหน่วยงานเกิดการหยุดชะงัก
(๒๕.๒) เป็นการละเมิดนโยบายความมั่นคงปลอดภัยของมหาวิทยาลัย
(๒๕.๓) เป็นการละเมิดต่อกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกําหนดต่างๆ ที่กําหนดไว้ (๒๕.๔) เกิดภาพลักษณ์ที่ไม่ดีต่อมหาวิทยาลัย หรือทําให้สูญเสียชื่อเสียง เช่น การไปโพสต์
ข้อความพาดพิงถึงมหาวิทยาลัยในเว็บไซต์ภายนอกซึ่งทําให้เกิดความเสียหายต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย (๒๖) สถานการณ์ด้านความมั่นคงปลอดภัยที่ไม่พึงประสงค์หรือไม่อาจคาดคิด หมายถึง เหตุบกพร่อง หรือเหตุละเมิดด้านความมั่นคงปลอดภัย ซึ่งอาจทําให้ระบบของมหาวิทยาลัยสูญเสียการปฏิบัติงาน รวมถึง การให้บริการต่างๆ แต่เพียงบางส่วนหรือทั้งหมด จากการถูกบุกรุกหรือโจมตีทางช่องโหว่ และความมั่นคง
ปลอดภัยถูกคุกคามจากภัยคุกคามรูปแบบต่างๆ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๘
วัตถุประสงค์
ส่วนที่ ๑ นโยบายควบคุมการเข้าถึงและการใช้งานระบบสารสนเทศ (Information Access Control Policy)
๑. เพื่อให้มีแนวทางปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยสําหรับควบคุมการเข้าถึงและการใช้งาน ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
๒. เพื่อให้ผู้ใช้งาน ผู้ดูแลระบบ และผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย ได้รับรู้ เข้าใจขั้นตอนและปฏิบัติตาม แนวทางบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้สารสนเทศของมหาวิทยาลัยโดยเคร่งครัด
ผู้รับผิดชอบ
๑. ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ๒. ผู้ดูแลระบบที่ได้รับมอบหมาย ๓. เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
อ้างอิงมาตรฐาน
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
แนวปฏิบัติ
๑. การควบคุมการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัย (Information Access Control)
๑.๑. จัดทําบัญชีทรัพย์สินหรือทะเบียนทรัพย์สิน
จัดทําบัญชีทรัพย์สินหรือทะเบียนทรัพย์สิน เพื่อจําแนกกลุ่มทรัพยากรของระบบหรือการ
ทํางาน โดยกําหนดกลุ่มผู้ใช้งานและสิทธิของกลุ่มผู้ใช้งาน
๑.๒. กําหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ดังนี้
๑.๒.๑. ไม่มีสิทธิ
๑.๒.๒. อ่านได้อย่างเดียว ๑.๒.๓. สร้างข้อมูล ๑.๒.๔. ป้อนข้อมูล ๑.๒.๕. แก้ไขข้อมูล ๑.๒.๖. ลบข้อมูล
๑.๒.๗. อนุมัติการใช้ข้อมูล
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
หน้าที่ ๙
๑.๓. กําหนดประเภทข้อมูลของมหาวิทยาลัยเป็น ๖ ประเภทหลักๆ ดังนี้ ๑.๓.๑. ข้อมูลนักศึกษา
๑.๓.๒. ข้อมูลบุคลากร
๑.๓.๓. ข้อมูลการเงินและบัญชี
๑.๓.๔. ข้อมูลทางการศึกษา
๑.๓.๕. ข้อมูลทางการบริหาร
๑.๓.๖. ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์
๑.๔. กําหนดระดับชั้นความลับของข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเป็น ๔ ระดับดังนี้ ๑.๔.๑. ลับ รู้เฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้องโดยตรง
๑.๔.๒. ใช้ภายในเท่านั้น เป็นข้อมูลที่สื่อสารกันในกลุ่มย่อยหรือระหว่างคณะ/หน่วยงาน
หรือข้อมูลที่เผยแพร่เฉพาะภายในมหาวิทยาลัย
๑.๔.๓. ส่วนบุคคล ใช้เฉพาะตัวบุคคล เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงานที่ดูแลข้อมูลนั้น
๑.๔.๔. เปิดเผยได้เป็นข้อมูลที่เปิดเผยได้ทั้งภายในและภายนอกมหาวิทยาลัย ๑.๕. เกณฑ์ในการกําหนดชั้นความลับของข้อมูล
๑.๕.๑. ประเภทลับ หมายถึง ข้อมูลที่รู้เฉพาะผู้ที่เป็นเจ้าของหรือผู้ที่มีหน้าที่เกี่ยวข้อง
โดยตรง
๑.๕.๒. ประเภทใช้ภายในเท่านั้น หมายถึง ข้อมูลที่สื่อสารกันในกลุ่มย่อยหรือระหว่าง คณะ/หน่วยงาน หรือข้อมูลที่เผยแพร่เฉพาะภายในมหาวิทยาลัย
ที่ดูแลข้อมูลนั้น
๑.๕.๓. ประเภทส่วนบุคคล หมายถึง ข้อมูลที่ใช้เฉพาะตัวบุคคล เจ้าหน้าที่ หรือหน่วยงาน
๑.๕.๔. ประเภทเปิดเผยได้หมายถึง ข้อมูลที่เปิดเผยได้ทั้งภายในและภายนอก
มหาวิทยาลัย
๑.๖. กําหนดระดับชั้นการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัยดังนี้
๑.๖.๑. การเข้าถึงสําหรับผู้บริหาร
๑.๖.๒. การเข้าถึงสําหรับผู้ปฏิบัติงานตามภาระหน้าที่ ๑.๖.๓. การเข้าถึงสําหรับผู้ดูแลระบบ
๑.๖.๔. การเข้าถึงระดับบุคคล
๑.๖.๕. การเข้าถึงระดับผู้ใช้งานทั่วไป
๑.๗. เกณฑ์การแบ่งระดับชั้นการเข้าถึงข้อมูลและสารสนเทศของมหาวิทยาลัย
๑.๗.๑. ผู้บริหาร เข้าถึงได้ตามอํานาจหน้าที่และลําดับชั้นการบังคับบัญชาในหน่วยงานนั้น ๑.๗.๒. ผู้ปฏิบัติงาน เข้าถึงได้ตามอํานาจหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
๑.๗.๓. ผู้ดูแลระบบ มีสิทธิในการบริหารจัดการระบบและเข้าถึงข้อมูลตามที่ได้รับ
มอบหมายตามอํานาจหน้าที่
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๐
เข้าถึงได้
หน่วยงานหลัก
สารสนเทศ
๑.๘.๑. ข้อมูลนักศึกษา หน่วยงานหลัก คือ สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ๑.๘.๒. ข้อมูลบุคลากร หน่วยงานหลัก คือ กองการเจ้าหน้าที่
๑.๘.๓. ข้อมูลการเงินและบัญชี หน่วยงานหลัก คือ กองคลัง
๑.๘.๔. ข้อมูลทางการศึกษา หน่วยงานหลัก คือ สํานักส่งเสริมวิชาการและงานทะเบียน ๑.๘.๕. ข้อมูลทางการบริหาร ขึ้นอยู่กับหน่วยงานที่มหาวิทยาลัยมอบหมายเป็น
๑.๘.๖. ข้อมูลการจราจรทางคอมพิวเตอร์ หน่วยงานหลัก คือ ศูนย์คอมพิวเตอร์และ
๑.๘.๗. การกําหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการอนุญาตให้เข้าถึง ต้องกําหนดตามนโยบายที่
๑.๗.๔. บุคคล เข้าถึงได้เฉพาะข้อมูลส่วนบุคคลของตนเองและข้อมูลที่ได้รับอนุญาตให้
๑.๗.๕. ผู้ใช้งานทั่วไป เข้าถึงได้เฉพาะข้อมูลที่ได้รับอนุญาตให้เข้าถึงได้ และสามารถดู เขียน แก้ไข และลบข้อมูลเฉพาะที่ตนเองสร้างขึ้นเท่านั้น
๑.๗.๖. การกําหนดสิทธิพิเศษสามารถดําเนินการได้เมื่อได้รับอนุมัติจากผู้มีอํานาจหรือ เจ้าของข้อมูลเท่านั้น
๑.๗.๗. การมอบอํานาจในการเข้าถึงสามารถดําเนินการได้เมื่อได้รับความยินยอมจาก เจ้าของสิทธิหรือหน่วยงานหลักเท่านั้น
๑.๘. กําหนดให้มีหน่วยงานหลักหรือหน่วยงานเจ้าภาพในการอนุญาตการเข้าถึงข้อมูลและ สารสนเทศของมหาวิทยาลัยในแต่ละประเภทดังนี้
เกี่ยวข้องกับการอนุญาต การกําหนดสิทธิหรือการมอบอํานาจของมหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี
๑.๙. การควบคุมการเปลี่ยนแปลง
๑.๙.๑. การเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่อาจส่งผลกระทบต่อข้อมูลและสารสนเทศที่ใช้งานอยู่ให้
ดําเนินการดังนี้
(๑) พิจารณาวางแผนดําเนินการเปลี่ยนแปลง รวมทั้งวางแผนด้านงบประมาณที่ จําเป็นต้องใช้ในการเปลี่ยนแปลง
(๒) แจ้งให้ผู้ที่เกี่ยวข้องได้รับทราบเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงนั้นๆ เพื่อให้บุคคล เหล่านั้นมีเวลาเพียงพอในการเตรียมความพร้อมก่อนที่จะดําเนินการเปลี่ยนแปลง
(๓) ต้องตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูลและสารสนเทศภายหลังจากที่มีการ
เปลี่ยนแปลง
เวอร์ชั่นเก่าไว้ในสถานที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย เพื่อให้สามารถนํากลับมาใช้ได้เมื่อจําเป็น
๑.๙.๒. ต้องจัดเก็บซอร์สโค้ดและไลบรารี่ของระบบสารสนเทศทั้งเวอร์ชั่นปัจจุบันและ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๑
๑.๑๐. การกําหนดการใช้งานตามภารกิจ ๑.๑๐.๑.การควบคุมการเข้าถึงระบบสารสนเทศ
(๑) นักศึกษาจะให้สิทธิทันทีที่มีสภาพเป็นนักศึกษาและหมดสิทธิเมื่อพ้นสภาพ
นักศึกษา ไปแล้ว ๙๐ วัน
(๒) บุคลากร จะให้สิทธิเข้าถึงตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและหมดสิทธิ เมื่อพ้นสภาพการเป็นบุคลากร
(๓) ผู้บริหาร จะให้สิทธิเข้าถึงตามภาระหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายและหมดสิทธิ เมื่อพ้นสภาพการเป็นผู้บริหาร
(๔) บุคคลภายนอก ได้รับอนุญาตเฉพาะระบบและช่วงเวลาที่กําหนด ๑.๑๐.๒.ข้อจํากัดในการเข้าถึง
(๑) นักศึกษาเข้าถึงได้เฉพาะระบบที่ได้รับอนุญาต
(๒) บุคลากร เข้าถึงได้ตามสิทธิเบื้องต้นและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย (๓) ผู้บริหารเข้าถึงตามสิทธิและภารกิจที่ได้รับมอบหมาย
(๔) บุคคลภายนอก เข้าถึงได้ตามที่ได้รับอนุญาต
๑.๑๑. ระยะเวลาการใช้งาน
๑.๑๑.๑. ระยะเวลาการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูลและสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
ผู้ใช้งานจะเข้าถึงและใช้งานได้ดังนี้
(๑) การเข้าถึงในเวลาราชการ ๐๘.๓๐-๑๗.๐๐ น.
(๒) การเข้าถึงนอกเวลาราชการ หลัง ๑๗.๐๐ น. เป็นต้นไป
(๓) การเข้าถึงในช่วงวันหยุดราชการและวันหยุดนักขัตฤกษ์ ๑.๑๑.๒. การจํากัดระยะเวลาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศ
(๑) กําหนดให้ระบบสารสนเทศที่มีความเสี่ยงสูงหรือระบบที่มีข้อมูลสําคัญ ต้องตัดและหมดเวลาการใช้งานที่สั้นขึ้นเพื่อป้องกันการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
(๒) ต้องจํากัดช่วงระยะเวลาการเชื่อมต่อสําหรับระบบสารสนเทศความเสี่ยง
สูงหรือระบบที่มีข้อมูลสําคัญ
๑.๑๒. การหมดสิทธิการเข้าถึงและใช้งานข้อมูลสารสนเทศและระบบสารสนเทศ
๑.๑๒.๑. บัญชีผู้ใช้หมดอายุ
๑.๑๒.๒. เมื่อมีการเปลี่ยนแปลงสิทธิการเข้าถึง ๑.๑๒.๓. ถูกระงับสิทธิ
๑.๑๓.การทบทวนและตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงและการใช้งานข้อมูล สารสนเทศ และระบบ สารสนเทศ
๑.๑๓.๑. ทบทวนและตรวจสอบสิทธิการเข้าถึงและใช้งานระบบสารสนเทศ ปีละ ๑ ครั้ง โดยผู้ดูแลระบบพิมพ์รายชื่อของผู้ที่ยังมีสิทธิในระบบแยกตามคณะ/หน่วยงานที่ขอสิทธิ จัดส่งรายชื่อนั้นให้กับ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๒
หน่วยงานที่ขอสิทธิเพื่อดําเนินการทบทวนว่า มีรายชื่อที่ลาออกหรือมีการเปลี่ยนแปลงแต่ยังไม่ได้แก้ไขสิทธิ การเข้าถึงให้ถูกต้องหรือไม่
๑.๑๓.๒. หน่วยงานผู้ขอสิทธิแจ้งกลับผู้ดูแลระบบเพื่อดําเนินการแก้ไขให้ถูกต้อง
๑.๑๓.๓. หน่วยงานที่เป็นเจ้าของระบบสารสนเทศต้องตรวจสอบคุณสมบัติและสิทธิของ ผู้ใช้อย่างสม่ําเสมอ หากมีการเปลี่ยนแปลงจะต้องดําเนินการเปลี่ยนแปลงสิทธิให้สอดคล้องกับระดับชั้นการ เข้าถึงและการใช้งานระบบทันที
๑.๑๔. ช่องทางการเข้าถึง
๑.๑๔.๑. เครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย ๑.๑๔.๒. เครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย ๑.๑๔.๓. เข้าถึงโดยผ่านระบบที่จัดไว้ให้
๒. การบริหารจัดการการเข้าถึงของผู้ใช้งาน (User Access Management)
๒.๑. การสร้างความรู้ความเข้าใจให้แก่ผู้ใช้งาน
๒.๑.๑. จัดทําหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคง
ปลอดภัยด้านสารสนเทศ
๒.๑.๒. อบรมผู้ใช้งาน เพื่อให้สามารถใช้งานข้อมูลและสารสนเทศและระบบ
สารสนเทศได้อย่างถูกต้อง รวมถึงให้ตระหนักและเข้าใจถึงภัยและผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานข้อมูลและ สารสนเทศและระบบสารสนเทศโดยไม่ระมัดระวัง
๒.๑.๓. ติดประกาศประชาสัมพันธ์ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในลักษณะเกร็ดความรู้ หรือข้อควรระวังในรูปแบบที่สามารถเข้าใจและนําไปปฏิบัติได้ง่าย
๒.๒. การแบ่งกลุ่มบัญชีผู้ใช้ บัญชีผู้ใช้ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยจัดทําขึ้นเพื่อควบคุมการเข้าถึงและใช้งาน
สารสนเทศและระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ต้องระบุชื่อบัญชีผู้ใช้แยกเป็นรายบุคคลที่ไม่ซ้ําซ้อนกัน โดย แบ่งกลุ่มผู้ใช้งานออกเป็น 4 กลุ่ม ดังต่อไปนี้
๒.๒.๑. ผู้บริหารของมหาวิทยาลัย
๒.๒.๒. บุคลากรของมหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ นักวิจัย และแขกของหน่วยงาน ๒.๒.๓. นักศึกษาของมหาวิทยาลัย
๒.๒.๔. บุคคลอื่นๆ ที่ มหาวิทยาลัยมอบสิทธิให้
๒.๓. การลงทะเบียนผู้ใช้งาน
๒.๓.๑. นักศึกษา นักศึกษาใหม่ทุกคน ได้รับบัญชีผู้ใช้หลังจากที่สํานักส่งเสริมวิชาการ
และงานทะเบียนป้อนข้อมูลนักศึกษาเข้าสู่ระบบสารสนเทศนักศึกษา
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๓
๒.๓.๒. บุคลากรของมหาวิทยาลัย อาจารย์พิเศษ นักวิจัย และแขกของหน่วยงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ จะสร้างบัญชีบุคลากรใหม่หลังจากที่กองการเจ้าหน้าที่ หรือ คณะ/หน่วยงาน ป้อนข้อมูลบุคลากรเข้าระบบสารสนเทศบุคลากร หรือดําเนินการตาม ๒.๓.๓. (๑) และ (๒)
๒.๓.๓. กรณีหน่วยงานต้องการบัญชีผู้ใช้เพื่อบริหารจัดการในการให้บริการบุคคลอื่นๆ ให้ดําเนินการดังนี้
(๑) ดาวน์โหลดแบบฟอร์มได้จาก www.arit.sru.ac.th หัวข้อแบบฟอร์มขอใช้ บริการต่างๆ กรอกข้อมูลให้ครบถ้วนแล้วนําส่งศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
(๒) ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศจะออกบัญชีผู้ใช้ให้ตามข้อมูลที่หน่วยงาน ระบุ และแจ้งผู้รับผิดชอบตามอีเมล์ที่ระบุไว้ในแบบฟอร์มหรือส่งข้อความไปยังหมายเลขโทรศัพท์ที่ระบุไว้
ในแบบฟอร์ม
(๓) ผู้รับผิดชอบของหน่วยงาน จะต้องรับผิดชอบความเสียหายใดๆ ที่จะเกิด จากการใช้งานบัญชีผู้ใช้ที่ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศออกให้
(๔) หากต้องการเปลี่ยนแปลงผู้รับผิดชอบบัญชีผู้ใช้ ให้แจ้งศูนย์คอมพิวเตอร์ และสารสนเทศเป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยผู้บริหารของหน่วยงาน ระบุผู้รับผิดชอบเดิม และ
ชื่อผู้รับผิดชอบใหม่ พร้อมบัญชีผู้ใช้และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้รับผิดชอบใหม่
(๕) หากต้องการยกเลิกบัญชีผู้ใช้ ให้แจ้งศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
เป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยผู้บริหารของหน่วยงาน ระบุ ชื่อผู้รับผิดชอบ และจํานวนบัญชีผู้ใช้ที่ต้องการ ยกเลิก
๒.๓.๔. บุคคลอื่นๆ ที่ มหาวิทยาลัยมอบสิทธิให้ เช่น บุคคลที่ทํางานในหน่วยงานอิสระ บุคคลที่มหาวิทยาลัยมอบสิทธิให้ สามารถลงทะเบียนขอใช้งานบัญชีผู้ใช้ โดยติดต่อที่สํานักงาน ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ โดยมีหนังสือรับรองจากผู้บริหารระดับคณะ/หน่วยงานขึ้นไป และแสดงบัตร ประจําตัวประชาชน หรือหนังสือเดินทาง พร้อมสําเนาที่รับรองสําเนาถูกต้อง จํานวน ๑ ฉบับ
๒.๔. การจัดการบัญชีผู้ใช้ของมหาวิทยาลัย
๒.๔.๑. การบริหารจัดการบัญชีผู้ใช้สําหรับบุคลากรของมหาวิทยาลัย ดําเนินการโดยผ่าน
ผู้แทนของหน่วยงาน โดยผู้บริหารของหน่วยงานแจ้งชื่อผู้แทนที่จะรับผิดชอบในการดูแลบัญชีผู้ใช้ของบุคลากร ในสังกัด เป็นลายลักษณ์อักษรถึงผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ โดยมีรายละเอียด ดังนี้
(๑) ชื่อหน่วยงาน
(๒) ชื่อ-สกุลของผู้แทน
(๓) ชื่อบัญชีผู้ใช้ของผู้แทน (๔)อีเมลข์องผู้แทน
(๕) หมายเลขโทรศัพท์ของผู้แทน
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๔
๒.๔.๒. การเปลี่ยนแปลงผู้แทนของหน่วยงาน ให้แจ้งศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ เป็นลายลักษณ์อักษรลงนามโดยผู้บริหารของหน่วยงาน ระบุผู้รับผิดชอบเดิม และชื่อผู้รับผิดชอบใหม่ พร้อมอีเมล์และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้ของผู้รับผิดชอบใหม่
๒.๕. การจัดการสิทธิของผู้ใช้งาน
๒.๕.๑. เมื่อเจ้าหน้าที่ของหน่วยงาน ลาออก หรือเปลี่ยนแปลงหน้าที่ความรับผิดชอบ
ในระบบที่เคยขอสิทธิการใช้งานไว้ ต้องรีบแจ้งเพื่อเปลี่ยนสิทธิหรือถอดถอนสิทธิออกจากระบบทันที
๒.๕.๒. การแจ้งขอใช้สิทธิ/เปลี่ยนแปลงสิทธิในการเข้าถึงและใช้งานข้อมูล
และสารสนเทศและระบบสารสนเทศจะต้องจัดทําเป็นลายลักษณ์อักษร ระบุเหตุผล และความจําเป็น (๑) ลงชื่อโดยผู้บริหารของหน่วยงานที่ขอใช้
(๒) ส่งถึงผู้บริหารของหน่วยงานหลัก
(๓) เก็บเอกสารไว้เป็นหลักฐานอ้างอิงทั้งฝ่ายผู้ขอและผู้อนุญาต
(๔) หน่วยงานหลักสําเนาเอกสารการอนุญาตให้ผู้ดูแลระบบเพื่อดําเนินการ
๒.๕.๓. ให้อํานาจกับผู้ดูแลระบบในการระงับสิทธิ ในกรณีตรวจพบว่ามีการกระทํา ความผิดตามนโยบายการเข้าถึงและควบคุมการใช้งานสารสนเทศ
๒.๕.๔. กรณีมีความจําเป็นต้องให้สิทธิพิเศษกับผู้ใช้งาน ต้องพิจารณาการควบคุมผู้ใช้งาน ที่มีสิทธิพิเศษนั้นอย่างรัดกุมเพียงพอโดยใช้ปัจจัยต่อไปนี้ประกอบการพิจารณา โดยต้องได้รับความเห็นชอบ และอนุมัติจากอธิการบดีหรือผู้ที่ได้รับมอบอํานาจจากอธิการบดี
เฉพาะกรณีจําเป็นเท่านั้น
ดังกล่าว
(๑) ควบคุมการใช้งานอย่างเข้มงวด เช่น กําหนดให้ต้องควบคุมการใช้งาน (๒) กําหนดระยะเวลาการใช้งานและระงับการใช้งานทันทีเมื่อพ้นระยะเวลา (๓) ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านอย่างเคร่งครัด เช่น ทุกครั้งหลังหมดความจําเป็น
ในการใช้งานหรือในกรณีที่มีความจําเป็นต้องใช้งานเป็นระยะเวลานานก็ต้องเปลี่ยนรหัสผ่านทุก ๓ เดือน เป็นต้น ๒.๖. การบริหารจัดการรหัสผ่านสําหรับผู้ใช้งาน
๒.๖.๑. ผู้ดูแลระบบต้องกําหนดขั้นตอนการปฏิบัติสําหรับการตั้งหรือเปลี่ยนรหัสผ่าน ที่มีความมั่นคงปลอดภัย
๒.๖.๒. ผู้ดูแลระบบต้องกําหนดรหัสผ่านชั่วคราว โดยกําหนดรหัสผ่านให้มีความยาก ต่อการเดาโดยผู้อื่นและกําหนดรหัสผ่านที่แตกต่างกัน
๒.๖.๓. ผู้ดูแลระบบต้องจัดส่งรหัสผ่านให้ผู้ใช้งาน โดยหลีกเลี่ยงการใช้อีเมล์เป็นช่องทาง
ในการส่ง รหัสผ่านชั่วคราวและต้องเปลี่ยนรหัสผ่านที่มีความยากต่อการคาดเดา
๒.๖.๔. ผู้ดูแลระบบต้องกําหนดให้ผู้ใช้งานเปลี่ยนรหัสผ่านโดยทันทีหลังจากที่ได้รับ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๕
๒.๖.๕. ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนรหัสผ่านเป็นระยะหรือทุกครั้งที่มีการแจ้งเตือนหรือบังคับให้ เปลี่ยนรหัสผ่านจากผู้ดูแลระบบ
๒.๖.๖. ผู้ใช้งานต้องลงบันทึกการออกจากระบบทันที เมื่อเลิกใช้งานระบบหรือไม่อยู่ หน้าจอเป็นเวลานาน
๒.๖.๗. กรณีผู้ดูแลระบบตรวจพบว่ารหัสผ่านของผู้ใช้งานไม่มีความปลอดภัย หรือตรวจสอบได้ว่าถูกนําไปใช้โดยผู้อื่น ผู้ใช้งานรายนั้นจะถูกตัดสิทธิการใช้งานชั่วคราวจนกว่าจะดําเนินการ เปลี่ยนรหัสผ่านเป็นที่เรียบร้อย
๒.๗. การทบทวนสิทธิการเข้าถึง
๒.๗.๑. ต้องมีกระบวนการทบทวนสิทธิการเข้าถึงของผู้ใช้งานระบบสารสนเทศและ
ปรับปรุงบัญชีผู้ใช้อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒.๗.๒. บัญชีผู้ใช้จะหมดอายุ ดังนี้
(๑) กรณีบุคลากร หมดอายุเมื่อพ้นสภาพการเป็นบุคลากรของมหาวิทยาลัย ยกเว้นผู้เกษียณอายุราชการซึ่งสามารถใช้ชื่อบัญชีและรหัสผ่านสําหรับเข้าอินเทอร์เน็ตเท่านั้น
(๒) กรณีนักศึกษา หมดอายุหลังพ้นสภาพการเป็นนักศึกษา ๙๐ วัน แต่จะ เปลี่ยนสภาพเป็นศิษย์เก่าโดยอัตโนมัติ ซึ่งสามารถใช้ชื่อบัญชีและรหัสผ่านสําหรับเข้าอินเทอร์เน็ต และระบบ
ฐานข้อมูลศิษย์เก่าเท่านั้น เปิดบัญชีหรือเมื่อไม่มีการเข้าใช้งานติดต่อกันเกิน ๓ เดือน
(๓) กรณีที่ไม่ใช่บุคลากรของมหาวิทยาลัยหมดอายุตามวันที่ระบุในเอกสารขอ
๓. การกําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบของผู้ใช้งาน (User Responsibilities)
๓.๑. การใช้งานบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน
๓.๑.๑. ผู้ใช้งานต้องทําการป้องกัน ดูแล รักษาข้อมูลบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน โดยผู้ใช้งาน
แต่ละคนต้องมีบัญชีชื่อผู้ใช้ของตนเอง และห้ามทําการเผยแพร่แจกจ่ายหรือทําให้ผู้อื่นล่วงรู้รหัสผ่าน ๓.๑.๒. ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนรหัสผ่านทันทีเมื่อสงสัยว่ารหัสผ่านอาจถูกเปิดเผยหรือล่วงรู้
๓.๒. การใช้งานรหัสผ่าน
๓.๒.๑. ผู้ใช้งานต้องเปลี่ยนรหัสผ่าน ตามระยะเวลาที่มหาวิทยาลัยกําหนด
๓.๒.๒. ไม่กําหนดรหัสผ่านที่มีส่วนหนึ่งมาจากสิ่งที่สื่อถึงตัวผู้ใช้งาน เช่น ชื่อ นามสกุล
ชื่อเล่น ชื่อบิดา ชื่อมารดา ชื่อหน่วยงาน หรือคําศัพท์ที่มีใช้ในพจนานุกรม เป็นต้น ต้องประกอบด้วย ตัวอักษร ไม่น้อยกว่า 8 ตัว โดยต้องผสมกันระหว่างตัวอักษรที่เป็นตัวพิมพ์ปกติ ตัวเลข และตัวอักขระพิเศษเข้าด้วยกัน
บุคคลอื่น
๓.๒.๓. ไม่ใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์ช่วยในการจํารหัสผ่านส่วนบุคคลอัตโนมัติ
๓.๒.๔. ไม่จดหรือบันทึกรหัสผ่านส่วนบุคคลไว้ในสถานที่ที่ง่ายต่อการสังเกตเห็นของ
๓.๒.๕. หลีกเลี่ยงการใช้รหัสผ่านเดียวกับระบบงานต่าง ๆ ที่มีสิทธิใช้งาน
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๖
๓.๒.๖. เก็บบัญชีและรหัสผ่านของตนเองไว้เป็นความลับ ๓.๓. การป้องกันอุปกรณ์ขณะไม่มีผู้ใช้งาน
๓.๓.๑. ผู้ใช้งานต้องตั้งค่าการใช้งานโปรแกรมถนอมหน้าจอ (Screen Saver) เพื่อทํา การล็อกหน้าจอภาพเมื่อไม่มีการใช้งาน หลังจากนั้นเมื่อต้องการใช้งานต้องใส่รหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งาน
๓.๓.๒. ผู้ใช้งานต้องล็อกอุปกรณ์และเครื่องคอมพิวเตอร์ที่สําคัญ เมื่อไม่ได้ใช้งานหรือ ต้องปล่อยทิ้งโดยไม่ได้ดูแล
๓.๓.๓. ผู้ดูแลระบบต้องสร้างความตระหนักเพื่อให้ผู้ใช้งานเข้าใจมาตรการป้องกัน
ที่กําหนดไว้
๓.๔. การจัดวางและการป้องกันอุปกรณ์
๓.๔.๑. จัดวางอุปกรณ์ในพื้นที่หรือบริเวณที่เหมาะสม เพื่อหลีกเลี่ยงการสูญหายหรือ ใช้งานโดยไม่ได้รับอนุญาต
๓.๔.๒. อุปกรณ์ที่มีความสําคัญให้แยกเก็บไว้ในพื้นที่ที่มีความมั่นคงปลอดภัย
๓.๔.๓. ดําเนินการตรวจสอบ สอดส่อง และดูแลสภาพแวดล้อมภายในบริเวณหรือพื้นที่ ที่มีระบบเทคโนโลยีสารสนเทศอยู่ภายในเพื่อป้องกันความเสียหายต่ออุปกรณ์ที่อยู่ในบริเวณดังกล่าว เช่น การตรวจสอบระดับอุณหภูมิ ความชื้น ว่าอยู่ในระดับปกติหรือไม่
๓.๕. การควบคุมสินทรัพย์สารสนเทศและการใช้งานระบบคอมพิวเตอร์
๓.๕.๑. จัดเก็บเอกสาร ข้อมูล สื่อบันทึกข้อมูล คอมพิวเตอร์ หรือสารสนเทศไว้ในสถานที่
มั่นคงปลอดภัย
๓.๕.๒. ต้องควบคุมการเข้าถึงข้อมูล สื่อบันทึกข้อมูล หรือสินทรัพย์ด้านสารสนเทศ โดยผู้เป็นเจ้าของหรือผู้ได้รับมอบหมายเป็นลายลักษณ์อักษรเท่านั้น
๓.๕.๓. มีมาตรการหรือเทคนิคในการลบหรือเขียนข้อมูลทับบนข้อมูลที่มีความสําคัญ ในอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูลก่อนที่จะอนุญาตให้ผู้อื่นนําอุปกรณ์นั้นไปใช้งานต่อเพื่อป้องกันไม่ให้เข้าถึง ข้อมูลสําคัญได้
๓.๕.๔. สํารองและลบข้อมูลที่เก็บอยู่ในสื่อบันทึกก่อนส่งเครื่องคอมพิวเตอร์ไปตรวจซ่อม เพื่อป้องกันการสูญหายหรือการเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต
๓.๕.๕. ผู้ใช้งานอาจนําการเข้ารหัสมาใช้กับข้อมูลที่เป็นความลับ โดยให้ปฏิบัติ ตามระเบียบการรักษาความลับทางราชการ พ.ศ. ๒๕๔๔
๓.๕.๖. จัดทําแนวทางสําหรับจัดเก็บ การทําลาย และระยะเวลาการจัดเก็บสําหรับข้อมูล หรือเอกสารตอบโต้ และแนวทางต้องสอดคล้องกับกฎหมาย ระเบียบ ข้อบังคับ หรือข้อกําหนดอื่นๆ ที่มหาวิทยาลัยต้องปฏิบัติตาม
๓.๕.๗. โปรแกรมต่างๆ ที่ติดตั้งบนเครื่องคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัย เป็นโปรแกรมที่ มหาวิทยาลัยได้ซื้อลิขสิทธิ์มาอย่างถูกต้องตามกฎหมาย ดังนั้นห้ามผู้ใช้งานคัดลอกโปรแกรม และนําไปติดตั้ง บนเครื่องคอมพิวเตอร์ส่วนตัว หรือแก้ไข หรือนําไปให้ผู้อื่นใช้งานเพราะเป็นการกระทําที่ผิดกฎหมาย
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๗
๓.๕.๘. ไม่เก็บข้อมูลสําคัญของมหาวิทยาลัยไว้บนเครื่องคอมพิวเตอร์หรือสื่อบันทึกข้อมูล ที่เป็นสมบัติส่วนบุคคล
๓.๕.๙. ต้องทําการเคลียร์ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึกข้อมูล ก่อนทําการเปลี่ยนหรือทดแทนอุปกรณ์
๓.๕.๑๐.ต้องลบหรือฟอร์แมต (Format) ข้อมูลที่บันทึกอยู่ในอุปกรณ์ที่ใช้ในการบันทึก ข้อมูล ก่อนทําลายหรือเปลี่ยนทดแทนหรือจําหน่ายอุปกรณ์
๓.๕.๑๑.ต้องลบข้อมูลที่ไม่มีการใช้งานตั้งแต่ ๕ ปีขึ้นไปออกจากฐานข้อมูล และสํารอง ข้อมูลลงฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External Hard Disk) หรือสื่อข้อมูลสํารอง (Backup Media) และจัดเก็บ ไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล ทั้งนี้ การลบหรือทําลายข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ดังกล่าว ต้องได้รับความเห็นชอบจากผู้มีอํานาจอนุมัติให้ทําลายสื่อบันทึกข้อมูล หรือลบข้อมูลอิเล็กทรอนิกส์ออกจาก ฐานข้อมูลทุกครั้ง
๓.๖. การป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดี
๓.๖.๑. ผู้ใช้งานต้องติดตั้งและใช้งานโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับป้องกันและ
กําจัดโปรแกรมไม่ประสงค์ดี รวมทั้งทําการปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ
๓.๖.๒. ต้องทําการปรับปรุงระบบปฏิบัติการ เว็บเบราว์เซอร์ และโปรแกรมต่างๆ
อย่างสม่ําเสมอเพื่อปิดช่องโหว่ เป็นการป้องกันการโจมตีจากภัยคุกคามต่างๆ
๓.๖.๓. ในการรับส่งข้อมูลคอมพิวเตอร์หรือสารสนเทศ ผ่านทางระบบเครือข่าย และ
ผ่านทางสื่อบันทึกข้อมูลทุกชนิด ผู้ใช้งานต้องทําการตรวจสอบ เพื่อป้องกันและกําจัดโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ก่อนการรับส่งทุกครั้ง
๓.๖.๔. ผู้ใช้งานต้องตรวจสอบไฟล์ โดยใช้โปรแกรมป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ก่อนการเปิดใช้ไฟล์ที่สามารถประมวลผลได้ (Executable file) เช่นไฟล์ที่มีนามสกุล .exe .com .bat .vbs .scr .pif .hta .txt.exe .doc.exe .xls.exe เป็นต้น
๔. การควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่าย (Network Access Control)
๔.๑. การเข้าใช้งานระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัย
๔.๑.๑. การเข้าถึงระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยจะต้องพิสูจน์ตัวตนผู้ใช้งานด้วยบัญชี
ผู้ใช้ที่มหาวิทยาลัยออกให้
๔.๑.๒. ผู้ใช้งานที่ได้รับอนุญาตเข้าถึงระบบเครือข่าย สามารถเข้าใช้ได้เฉพาะบริการ
ในระบบเครือข่ายตามสิทธิที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
๔.๑.๓. การเข้าถึงระบบเครือข่ายของมหาวิทยาลัยจากภายนอกต้องอยู่บนพื้นฐาน
ของความจําเป็นเท่านั้น และต้องกําหนดมาตรการรักษาความปลอดภัยที่เพิ่มขึ้นเป็นพิเศษจากมาตรฐานการ เข้าถึงระบบเครือข่ายมหาวิทยาลัยจากภายใน
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๘
๔.๑.๔. เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทุกเครื่องที่ต้องการให้เข้าถึงได้จากอินเทอร์เน็ตจะต้อง ลงทะเบียนกับศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
๔.๑.๕. จํากัดการเข้าถึงเครือข่ายที่ใช้งานร่วมกัน รวมทั้งตรวจสอบเปิดปิดพอร์ตอุปกรณ์ เครือข่ายตามความจําเป็น
๔.๑.๖. การใช้เครื่องมือต่างๆ เพื่อการตรวจสอบระบบเครือข่าย ต้องได้รับการอนุมัติจาก ผู้ดูแลระบบ และจํากัดการใช้งานเฉพาะเท่าที่จําเป็น
๔.๑.๗. การเข้าใช้เครือข่ายของบุคคลที่ไม่มีบัญชีผู้ใช้ของมหาวิทยาลัย ต้องขออนุญาตใช้ บัญชีชั่วคราวจากมหาวิทยาลัย ซึ่งจะเข้าถึงได้ตามสิทธิที่ได้รับอนุญาตและจะต้องพิสูจน์ตัวตนด้วยบัญชี ชั่วคราวนั้น
๔.๒. การควบคุมการเข้าถึงระบบเครือข่ายไร้สาย(WirelessLANAccessControl)
๔.๒.๑. ผู้ใช้งานที่ต้องการเข้าถึงระบบเครือข่ายไร้สายภายในมหาวิทยาลัยจะต้องทําการ ลงทะเบียนกับผู้ดูแลระบบ และได้รับการพิจารณาอนุญาตจากผู้บริหารศูนย์คอมพิวเตอร์ หรือผู้บริหาร
หน่วยงานที่เป็นเจ้าของระบบเครือข่ายไร้สายนั้น
๔.๒.๒. ผู้ดูแลระบบเครือข่ายไร้สายต้องดําเนินการดังต่อไปนี้
(๑) ต้องทําการลงทะเบียนกําหนดสิทธิผู้ใช้งานระบบเครือข่ายไร้สาย ให้เหมาะสมกับหน้าที่ความรับผิดชอบในการปฏิบัติงาน รวมทั้งทบทวนสิทธิการเข้าถึงอย่างสม่ําเสมอ
(๒) ต้องลงทะเบียนอุปกรณ์กระจายสัญญาณ (access point) ทุกตัวที่นํามา ใช้ในระบบเครือข่ายไร้สายและได้รับอนุญาตจากผู้ดูแลระบบ
(๓) ต้องควบคุมสัญญาณของอุปกรณ์กระจายสัญญาณเพื่อป้องกันไม่ให้ สัญญาณของอุปกรณ์รั่วไหลออกนอกพื้นที่ใช้งาน และป้องกันไม่ให้ผู้โจมตีสามารถรับส่งสัญญาณจากภายนอก
อาคารหรือบริเวณขอบเขตที่ควบคุมได้
(๔) ต้องทําการเปลี่ยนค่า SSID ที่ถูกกําหนดเป็นค่าเริ่มต้นมาจากผู้ผลิตทันที
ที่นําอุปกรณ์กระจายสัญญาณมาใช้งาน
(๕) ต้องเปลี่ยนค่าชื่อบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านในการเข้าสู่ระบบสําหรับการตั้งค่า
การทํางานของอุปกรณ์กระจายสัญญาณ และต้องเลือกใช้บัญชีรายชื่อและรหัสผ่านที่คาดเดาได้ยาก เพื่อป้องกันผู้โจมตีไม่ให้สามารถเดาหรือเจาะรหัสผ่านได้โดยง่าย
(๖) ต้องเข้ารหัสข้อมูลระหว่าง wireless LAN client และอุปกรณ์กระจาย สัญญาณ ด้วยวิธีที่มีประสิทธิภาพไม่ด้อยกว่าวิธี WPA2 (Wi-Fi Protected Access) เพื่อให้ยากต่อการดักจับ
ข้อมูล และทําให้ปลอดภัยมากขึ้น
(๗) ต้องติดตั้งอุปกรณ์ป้องกันการบุกรุก (firewall) ระหว่างเครือข่ายไร้สาย
กับเครือข่ายภายในมหาวิทยาลัย
(๘) ต้องใช้ซอฟต์แวร์หรือฮาร์ดแวร์ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยของระบบ
เครือข่ายไร้สายอย่างสม่ําเสมอ เพื่อคอยตรวจสอบและบันทึกเหตุการณ์ที่น่าสงสัยที่เกิดขึ้นในระบบเครือข่าย
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๑๙
ไร้สาย และเมื่อตรวจสอบพบการใช้งานระบบเครือข่ายไร้สายที่ผิดปกติ ให้รายงานต่อผู้บริหารศูนย์ คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ทราบโดยทันที
๔.๓. การระบุอุปกรณ์ที่นํามาเชื่อมต่อบนเครือข่าย
๔.๓.๑. อุปกรณ์ที่นํามาเชื่อมต่อได้รับหมายเลขไอพีแอดเดรสตามที่กําหนดโดย
ผู้ดูแลระบบเครือข่าย
๔.๓.๒. เก็บข้อมูลการใช้ MAC Address จากเครื่องบริการกําหนดค่าหมายเลขไอพี
แอดเดรส (DHCP Server) หรือจาก ARP Table บนสวิทช์ L๓
๔.๔. การป้องกันพอร์ตที่ใช้สําหรับตรวจสอบและปรับแต่งระบบ
๔.๔.๑. ต้องควบคุมพอร์ตและหมายเลขไอพีแอดเดรสที่ใช้สําหรับตรวจสอบและปรับแต่ง ระบบให้เข้าถึงอุปกรณ์เครือข่ายอย่างรัดกุม
๔.๔.๒. ต้องกําหนดรหัสผ่านสําหรับตรวจสอบและปรับแต่งอุปกรณ์เครือข่าย เมื่อใช้การ เชื่อมต่อโดยตรงบนตัวอุปกรณ์
๔.๔.๓. ไม่อนุญาตให้เชื่อมต่อพอร์ตโดยตรงจากเครือข่ายภายนอกมหาวิทยาลัย แต่ให้เชื่อมต่อผ่านช่องทางที่ปลอดภัยที่มหาวิทยาลัยกําหนด เช่น VPN เป็นต้น
๔.๔.๔. อุปกรณ์เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สําคัญต้องจัดเก็บในห้องอุปกรณ์เครือข่าย ที่ควบคุมความปลอดภัย
๔.๔.๕. ต้องปิดพอร์ตหรือปิดบริการ บนอุปกรณ์เครือข่ายที่ไม่มีความจําเป็นในการใช้งาน
๔.๔.๖. ต้องตรวจสอบและปิดพอร์ตของระบบหรืออุปกรณ์ที่ไม่มีความจําเป็นในการ เข้าใช้งานอย่างสม่ําเสมออย่างน้อยสัปดาห์ละ ๑ ครั้ง
๔.๕. การแบ่งแยกเครือข่าย(segregationinnetworks)
๔.๕.๑. ต้องจัดทําแผนผังระบบเครือข่าย ซึ่งมีรายละเอียดเกี่ยวกับขอบเขตของ
ระบบเครือข่ายภายในและเครือข่ายภายนอก และอุปกรณ์ต่างๆ พร้อมทั้งปรับปรุงให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอ ๔.๕.๒. แบ่งแยกเครือข่ายตามกลุ่มของบริการ กลุ่มผู้ใช้ และระบบงานต่างๆ
ของมหาวิทยาลัย
๔.๕.๓. ต้องใช้ไฟร์วอลล์กั้นหรือแบ่งเครือข่ายภายในออกเป็นเครือข่ายย่อยๆ
๔.๕.๔. ต้องใช้เกตเวย์เพื่อควบคุมการเข้าถึงเครือข่ายทั้งจากภายในและภายนอก หน่วยงาน ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายควบคุมการเข้าถึงและนโยบายการใช้งานบริการเครือข่ายของหน่วยงาน
๔.๖. การควบคุมการเชื่อมต่อทางเครือข่าย(networkconnectioncontrol)
๔.๖.๑. อนุญาตการเชื่อมต่อเฉพาะหมายเลขไอพีแอดเดรสที่กําหนดให้เท่านั้น
๔.๖.๒. ระบบเครือข่ายที่เชื่อมต่อไปยังเครือข่ายอื่นๆ ภายนอกมหาวิทยาลัย ต้องติดตั้ง
ระบบตรวจจับการบุกรุก และต้องมีความสามารถในการตรวจจับโปรแกรมไม่ประสงค์ดี ๔.๗. การควบคุมการจัดเส้นทางบนเครือข่าย(networkroutingcontrol)
๔.๗.๑. อนุญาตเส้นทางเครือข่ายเฉพาะกลุ่มหมายเลขไอพีแอดเดรสที่กําหนด
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๐
๔.๗.๒. มีเกตเวย์เพื่อกรองข้อมูลที่ไหลเวียนในเครือข่าย
๔.๗.๓. ต้องตรวจสอบหมายเลขไอพีแอดเดรสของต้นทางและปลายทาง
๔.๗.๔. ต้องควบคุมการไหลของข้อมูลผ่านเครือข่าย
๔.๗.๕. ต้องกําหนดเส้นทางการไหลของข้อมูลบนเครือข่ายที่สอดคล้องกับการควบคุม
การเข้าถึงและการใช้งานบริการเครือข่าย
๔.๗.๖. ต้องจํากัดการใช้เส้นทางบนเครือข่ายจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไปยัง
เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายเพื่อระงับการใช้จากเส้นทางอื่น
๔.๘. การยืนยันตัวบุคคลสําหรับผู้ใช้งานที่อยู่ภายนอกมหาวิทยาลัย(UserAuthentication
for External Connections)
๔.๘.๑. ผู้ใช้งานที่จะเข้าใช้งานระบบต้องแสดงตัวตนด้วยชื่อผู้ใช้งานทุกครั้ง
๔.๘.๒. ผู้ใช้งานที่อยู่ภายนอกหน่วยงาน ต้องเป็นผู้ที่ได้รับสิทธิในการเข้าใช้บริการ
แล้วเท่านั้น
๔.๘.๓. ต้องมีระบบตรวจสอบผู้ใช้งานทุกครั้งก่อนที่จะอนุญาตให้เข้าถึงระบบสารสนเทศ ของมหาวิทยาลัย โดยจะต้องมีวิธีการยืนยันตัวตนด้วยการป้อนชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่าน เพื่อแสดงว่าเป็น ผู้ใช้งานตัวจริง
๕. การใช้งานอินเทอร์เน็ต (Use of the Internet)
๕.๑. ผู้ใช้งานต้องเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์เพื่อการเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตผ่านระบบ รักษาความปลอดภัยที่มหาวิทยาลัยจัดสรรไว้ตามสิทธิที่ได้รับ
๕.๒. ห้ามใช้อินเทอร์เน็ตของมหาวิทยาลัยเพื่อหาประโยชน์ในเชิงพาณิชย์เป็นการส่วนบุคคล
๕.๓. ผู้ใช้งานต้องไม่เข้าสู่เว็บไซต์ที่ไม่เหมาะสม เช่น เว็บไซต์ที่ขัดต่อศีลธรรม เว็บไซต์ ที่มีเนื้อหาอันอาจกระทบกระเทือนหรือเป็นภัยต่อความมั่นคงต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หรือเว็บไซต์ ที่เป็นภัยต่อสังคม หรือละเมิดสิทธิของผู้อื่น หรือข้อมูลที่อาจก่อความเสียหายให้กับมหาวิทยาลัย เป็นต้น
๕.๔. ผู้ใช้งานต้องระมัดระวังการดาวน์โหลดโปรแกรมใช้งานจากอินเทอร์เน็ต ซึ่งรวมถึง การดาวน์โหลดการปรับปรุงโปรแกรมต่างๆ ต้องเป็นไปโดยไม่ละเมิดลิขสิทธิ์หรือทรัพย์สินทางปัญญา
๕.๕. ไม่ควรใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตที่มีการครอบครองแบนด์วิดท์จํานวนมากหรือ เป็นเวลานาน
๖. การบริหารจัดการคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Management)
๖.๑. กําหนดผู้ดูแลระบบสําหรับเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทุกเครื่องอย่างเป็นลายลักษณ์อักษร
๖.๒. มีขั้นตอน/กระบวนการในการตรวจสอบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย และในกรณีที่พบว่ามี การใช้งานหรือเปลี่ยนแปลงค่าที่ผิดปกติ จะต้องดําเนินการแก้ไขและบันทึกรายงานการแก้ไขโดยทันที
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๑
๖.๓. ตั้งนาฬิกาของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทุกเครื่องและอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ที่ให้บริการ ทุกชนิดให้ตรงกับเวลาอ้างอิงมาตรฐาน (time.uni.net.th หรือ clock.nectec.or.th) ที่มหาวิทยาลัยใช้อ้างอิง ๖.๔. เปิดใช้บริการเท่าที่จําเป็นเท่านั้น โดยต้องมีมาตรการป้องกันเพิ่มเติมสําหรับบริการ
ที่มีความเสี่ยงต่อระบบรักษาความปลอดภัย
๖.๕. ต้องปรับปรุงระบบซอฟต์แวร์ให้เป็นปัจจุบันอยู่เสมอเพื่ออุดช่องโหว่ต่างๆ
๖.๖. ต้องทดสอบโปรแกรมระบบเกี่ยวกับการรักษาความปลอดภัยและประสิทธิภาพการใช้งาน
โดยทั่วไปก่อนติดตั้งและหลังจากการแก้ไขหรือบํารุงรักษา
๖.๗. การติดตั้งและการเชื่อมต่อระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่ายจะต้องดําเนินการโดยผู้ดูแลระบบ
ของหน่วยงาน
๗. การใช้งานและการควบคุมการใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic mail Usage and Control)
๗.๑. นักศึกษา ใช้บัญชีผู้ใช้ที่เป็นตัวเลขรหัสนักศึกษา ตามด้วย @student.sru.ac.th โดย รหัสผ่านจะใช้เป็นหมายเลขบัตรประจําตัวประชาชนของนักศึกษาเป็นค่าเริ่มต้นและเมื่อเข้าใช้งานบัญชีผู้ใช้ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ในครั้งแรก ระบบจะบังคับให้นักศึกษาทําการเปลี่ยนรหัสผ่านใหม่ทันที โดยเข้าใช้งาน ได้ที่ mail.google.com/a/student.sru.ac.th
๗.๒. บุคลากรดาวน์โหลดแบบฟอร์มจากarit.sru.ac.thหัวข้อแบบฟอร์มขอใช้บริการต่างๆ (แบบฟอร์มการสมัครใช้อีเมล์มหาวิทยาลัย) กรอกแบบฟอร์มให้ครบถ้วน จากนั้นนําส่งศูนย์คอมพิวเตอร์และ สารสนเทศเพื่อลงทะเบียนและเข้าใช้งานระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์(SRU Mail) โดยเข้าใช้งานได้ที่ mail.google.com/a/sru.ac.th
๗.๓. ผู้ใช้งานต้องไม่ใช้ที่อยู่จดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของผู้อื่นเพื่ออ่านหรือรับ-ส่งข้อความ
๗.๔. กรณีที่ต้องการส่งข้อมูลที่เป็นความลับ ไม่ควรระบุความสําคัญของข้อมูลลงบนหัวข้อ จดหมายอิเล็กทรอนิกส์
๗.๕. ผู้ใช้งานมีหน้าที่จะต้องรักษาบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านเป็นความลับไม่ให้รั่วไหลไปถึงบุคคล ที่ไม่เกี่ยวข้องเพื่อป้องกันการใช้งานโดยผู้ไม่ประสงค์ดี
๗.๖. หลังจากการใช้งานระบบจดหมายอิเล็กทรอนิกส์เสร็จสิ้น ผู้ใช้งานต้องบันทึกการออก ทุกครั้ง เพื่อป้องกันบุคคลอื่นเข้าใช้งานจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของตน
๗.๗. ก่อนส่งต่อเปิดไฟล์หรือคลิกลิ้งค์ที่แนบมาต้องตรวจสอบให้แน่ใจก่อนว่าไม่ใช่จดหมาย หลอกลวง
๗.๘. ต้องไม่ส่งข้อมูลส่วนบุคคลที่สําคัญเช่นรหัสผ่านบัญชีผู้ใช้หมายเลขประจําตัวประชาชน หมายเลขบัตรเครดิต ฯลฯ ผ่านจดหมายอิเล็กทรอนิกส์
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๒
๘. การควบคุมการเข้าถึงระบบปฏิบัติการ (Operating System Access Control)
๘.๑. ผู้ดูแลระบบ(SystemAdministrator) ต้องกําหนดชื่อผู้ใช้งานและรหัสผ่านให้กับผู้ใช้งานระบบปฏิบัติการของเครื่องคอมพิวเตอร์
ของมหาวิทยาลัย
๘.๒. กําหนดขั้นตอนการปฏิบัติเพื่อการเข้าใช้งานที่มั่นคงปลอดภัย
๘.๒.๑. ต้องไม่ให้ระบบแสดงรายละเอียดสําคัญของระบบก่อนที่การเข้าสู่ระบบจะเสร็จ
สมบูรณ์
๘.๒.๒. ระบบสามารถยุติการเชื่อมต่อเครื่องปลายทางได้เมื่อพบว่ามีการพยายามคาดเดา รหัสผ่านจากเครื่องปลายทาง
๘.๒.๓. จํากัดระยะเวลาสําหรับใช้ในการป้องกันรหัสผ่าน
๘.๒.๔. จํากัดการเชื่อมต่อโดยตรงสู่ระบบปฏิบัติการผ่านทาง Command Line เนื่องจากอาจสร้างความเสียหายให้กับระบบได้
๘.๓. ระบุและยืนยันตัวตนของผู้ใช้งาน(UserIdentificationandAuthentication)
๘.๓.๑. ผู้ใช้งานต้องมีบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน สําหรับเข้าใช้งานระบบสารสนเทศ
ของมหาวิทยาลัย
๘.๓.๒. สามารถใช้อุปกรณ์ควบคุมความปลอดภัยเพิ่มเติม โดยใช้สมาร์ทการ์ด RFID หรือ
เครื่องอ่านลายพิมพ์นิ้วมือ หรือวิธีการอื่นที่มีความปลอดภัย
๘.๔. การบริหารจัดการรหัสผ่าน(PasswordManagementSystem)
๘.๔.๑. ต้องจํากัดระยะเวลาในการป้อนรหัสผ่าน หากผู้ใช้งานป้อนรหัสผ่านผิดเกิน จํานวนครั้งที่กําหนด ระบบจะทําการล็อกสิทธิการเข้าถึงของผู้ใช้งาน ทําให้ไม่สามารถใช้งานได้จนกว่า ผู้ดูแลระบบจะปลดล็อกให้
๘.๔.๒. ระบบสามารถยุติการเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทางได้ เมื่อพบว่ามีความพยายาม ในการเดารหัสผ่านจากเครื่องปลายทาง
๘.๔.๓. มีระบบให้ผู้ใช้งานสามารถเปลี่ยนและยืนยันรหัสผ่านได้ด้วยตนเอง
๘.๔.๔. ต้องจัดเก็บไฟล์ข้อมูลรหัสผ่านของผู้ใช้งานแยกต่างหากจากข้อมูลของระบบงาน ๘.๔.๕. ไม่แสดงข้อมูลรหัสผ่านในหน้าจอของผู้ใช้งานระหว่างที่ผู้ใช้งานกําลังใส่ข้อมูล
รหัสผ่านของตนเอง แต่แสดงเป็นเครื่องหมายจุดหรือดอกจันบนหน้าจอแทน
๘.๔.๖. เมื่อได้ดําเนินการติดตั้งระบบแล้ว ให้ยกเลิกชื่อผู้ใช้งานหรือเปลี่ยนรหัสผ่าน
ของทุกชื่อผู้ใช้ที่ได้ถูกกําหนดไว้เริ่มต้นที่มาพร้อมกับการติดตั้งระบบโดยทันที
๘.๕. การใช้งานโปรแกรมอรรถประโยชน์(Use of System Utilities)
อรรถประโยชน์
๘.๕.๑. จํากัดสิทธิการเข้าถึง และกําหนดสิทธิอย่างรัดกุมในการอนุญาตให้ใช้โปรแกรม ๘.๕.๒. จัดเก็บโปรแกรมอรรถประโยชน์ไว้ในสื่อภายนอก ถ้าไม่ต้องใช้งานเป็นประจํา
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๓
๘.๕.๓. ต้องจัดเก็บบันทึกการเรียกใช้งานโปรแกรมเหล่านี้
๘.๕.๔. ต้องถอดถอนโปรแกรมอรรถประโยชน์ที่ไม่จําเป็นออกจากระบบ
๘.๕.๕. โปรแกรมที่ติดตั้ง ต้องเป็นโปรแกรมที่องค์กรได้ซื้อลิขสิทธิ์ถูกต้องตามกฎหมาย ๘.๕.๖. ห้ามผู้ใช้งานคัดลอกโปรแกรมต่าง ๆ แล้วนําไปให้ผู้อื่นใช้งานโดยผิดกฎหมาย
๘.๖. การหมดเวลาใช้งานระบบสารสนเทศ(SessionTime-Out)
๘.๖.๑. ให้กําหนดหลักเกณฑ์การยุติการใช้งานระบบสารสนเทศเมื่อว่างเว้นจากการ
ใช้งานเป็นเวลาไม่เกิน ๓๐ นาที หากเป็นระบบที่มีความเสี่ยงหรือความสําคัญสูง ให้กําหนดระยะเวลายุติการ ใช้งานระบบเมื่อว่างเว้นจากการใช้งานให้สั้นลงหรือเป็นเวลาไม่เกิน ๑๕ นาทีตามความเหมาะสม เพื่อป้องกัน การเข้าถึงข้อมูลสําคัญโดยไม่ได้รับอนุญาต
๘.๖.๒. ถ้าไม่มีการใช้งานระบบ ต้องทําการยกเลิกการใช้โปรแกรมประยุกต์และ การเชื่อมต่อเข้าสู่ระบบโดยอัตโนมัติ
๘.๖.๓. เครื่องปลายทางที่ตั้งอยู่ในพื้นที่ที่มีความเสี่ยงสูงต้องกําหนดระยะเวลาให้ทําการ ปิดเครื่องโดยอัตโนมัติหลังจากที่ไม่มีการใช้งานเป็นระยะเวลาตามที่กําหนด
๘.๗. การจํากัดระยะเวลาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศ(LimitationofConnectionTime) ๘.๗.๑. กําหนดหลักเกณฑ์ในการจํากัดระยะเวลาการเชื่อมต่อระบบสารสนเทศ สําหรับ ระบบสารสนเทศหรือแอปพลิเคชันที่มีความเสี่ยงหรือมีความสําคัญสูง เพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้นาน ที่สุดภายในระยะเวลาที่กําหนดเท่านั้น เช่น กําหนดให้ใช้งานได้ไม่เกิน ๓ ชั่วโมง ต่อการเชื่อมต่อหนึ่งครั้ง และ
กําหนดให้ใช้งานได้เฉพาะในช่วงเวลาการทํางานตามปกติของมหาวิทยาลัยเท่านั้น
๘.๗.๒. การกําหนดช่วงเวลาสําหรับการเชื่อมต่อระบบเครือข่ายจากเครื่องปลายทาง
จะต้องพิจารณาถึงระดับความเสี่ยงของที่ตั้งของเครื่องปลายทางด้วย
๘.๗.๓. กําหนดให้ระบบสารสนเทศ เช่น ระบบงานที่มีความสําคัญสูง และ/หรือ
ระบบงานที่มีการใช้งานในสถานที่ที่มีความเสี่ยงในที่สาธารณะ หรือพื้นที่ภายนอกสํานักงาน มีการจํากัดช่วง ระยะเวลาการเชื่อมต่อ
๙. การควบคุมการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (Server Access Control)
๙.๑. หัวหน้าหน่วยงานที่เป็นเจ้าของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ต้องแต่งตั้งผู้มีสิทธิ กําหนด จํานวนผู้มีสิทธิในการเข้าถึงระบบปฏิบัติการ
๙.๒. ผู้ใช้งานต้องยืนยันตัวตนในการเข้าใช้ระบบปฏิบัติการด้วยบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน ของตัวเอง
๙.๓. ต้องไม่แสดงรายละเอียดสําคัญของระบบก่อนที่การเข้าสู่ระบบจะเสร็จสมบูรณ์
๙.๔. ต้องตั้งค่าระบบให้สามารถยุติการเชื่อมต่อจากเครื่องปลายทางได้เมื่อพบว่ามีการพยายาม คาดเดารหัสผ่านจากเครื่องปลายทาง
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๔
๙.๕. ผู้ดูแลระบบต้องยุติการให้บริการทันทีในกรณีตรวจพบว่ามีการใช้งานที่ผิดปกติหรือไม่ ปลอดภัย
๙.๖. ห้ามการติดตั้งซอฟต์แวร์อื่นๆ หรือซอฟต์แวร์ที่ได้มาจากแหล่งภายนอก รวมทั้งการใช้ไฟล์ อื่นที่มหาวิทยาลัยไม่อนุญาต
๙.๗. ผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของหน่วยงานต้องตรวจสอบซอฟต์แวร์หรือข้อมูลใน ระบบงานสําคัญอย่างสม่ําเสมอ เพื่อป้องกันการติดตั้งซอฟต์แวร์หรือข้อมูลในระบบงานนั้นโดยไม่ได้รับอนุญาต
๙.๘. ติดตั้งซอฟต์แวร์เพื่อป้องกันโปรแกรมไม่ประสงค์ดีบนเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายทุกเครื่อง
๙.๙. กําหนดหน้าที่ความรับผิดชอบและขั้นตอนปฏิบัติ สําหรับการจัดการกับโปรแกรม ไม่ประสงค์ดี เช่น การรายงานการเกิดขึ้นของโปรแกรมไม่ประสงค์ดี การวิเคราะห์ การจัดการ การกู้คืนระบบ จากความเสียหายที่พบ
๙.๑๐.ต้องติดตามข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโปรแกรมไม่ประสงค์ดีอย่างสม่ําเสมอ
๙.๑๑.ต้องสร้างความตระหนักเกี่ยวกับโปรแกรมไม่ประสงค์ดี เพื่อให้ผู้ดูแลระบบและผู้ใช้งาน มีความรู้ความเข้าใจและสามารถป้องกันตนเองได้และให้รับทราบขั้นตอนปฏิบัติเมื่อพบเหตุโปรแกรม ไม่ประสงค์ดีว่าต้องดําเนินการอย่างไร
๑๐. การควบคุมการเข้าถึงเครื่องคอมพิวเตอร์ที่หน่วยงานจัดไว้ให้ใช้งานส่วนรวม (Public Computer Access Control)
๑๐.๑.ผู้ใช้งานต้องยืนยันตัวตนในการเข้าใช้ระบบปฏิบัติการด้วยบัญชีผู้ใช้และรหัสผ่าน ของตนเอง
๑๐.๒. ระบบต้องไม่แสดงรายละเอียดสําคัญก่อนที่การเข้าสู่ระบบจะเสร็จสมบูรณ์
๑๐.๓. ต้องตั้งค่าระบบให้สามารถยุติการเชื่อมต่อเมื่อพบว่ามีความพยายามคาดเดารหัสผ่าน ๑๐.๔.ระบบจะต้องจํากัดสิทธิผู้ใช้งานในการติดตั้ง เปลี่ยนแปลง หรือลบโปรแกรมหรือข้อมูล
บนเครื่อง
๑๑. การเข้าถึงโปรแกรมประยุกต์และระบบสารสนเทศ (Application and Information Access Control)
๑๑.๑. การจํากัดการเข้าถึงสารสนเทศ
๑๑.๑.๑. การจํากัดการเข้าถึงของผู้ใช้งาน
(๑) เข้าได้ตามสิทธิที่ได้รับอนุญาตเท่านั้น
(๒) กําหนดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล
(๓) ต้องบันทึกการออกจากระบบงานโดยทันทีที่ใช้งานเสร็จ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๕
๑๑.๑.๒. แบ่งกลุ่มบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านสารสนเทศของมหาวิทยาลัย ออกเป็น ๓ กลุ่ม คือ ๑) ผู้ดูแลระบบ ๒) ผู้พัฒนาระบบงาน และ ๓) ผู้ใช้งานระบบ โดยกําหนดหน้าที่รับผิดชอบอย่าง ชัดเจนเป็นลายลักษณ์อักษร
๑๑.๑.๓. การบันทึกเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับการใช้งานระบบสารสนเทศ ต้องบันทึก ข้อมูลพฤติกรรมการใช้งาน การเข้าถึงระบบสารสนเทศทสี่ ําคัญ ดังนี้
(๑) ชื่อบัญชีผู้ใช้
(๒) วันเวลาที่เข้าถึงระบบ
(๓) วันเวลาที่ออกจากระบบ
(๔) เหตุการณส์ ําคัญที่เกิดขึ้น
(๕) บันทึกการเข้าใช้ทั้งที่สําเร็จและไม่สําเร็จ
(๖) ความพยายามในการเข้าถึงทรัพยากรทั้งที่สําเร็จและไม่สําเร็จ
(๗) แสดงการใช้สิทธิ เช่น สิทธิของผู้ดูแลระบบ
(๘) แสดงการเข้าถึงไฟล์และการกระทํากับไฟล์เช่นเปิดปิดเขียนอ่านไฟล์ (๙) หมายเลขไอพีแอดเดรสที่เข้าถึง (๑๐)แสดงการหยุดการทํางานของระบบป้องกันการบุกรุก (๑๑)แสดงการหยุดการทํางานของระบบงานที่สําคัญ
๑๑.๑.๔. การรับ-ส่งข้อมูลสําคัญผ่านระบบเครือข่ายสาธารณะ ควรเข้ารหัส (Encryption) ที่เป็นมาตรฐานสากล เช่น SSL VPN หรือ XML Encryption เป็นต้น
๑๑.๑.๕. การควบคุมผู้รับเหมา (outsource) กรณีมีการจ้างเหมาบํารุงรักษา ดูแล และพัฒนาระบบสารสนเทศ
(๑) มีกระบวนการคัดเลือกผู้รับเหมาโดยต้องกําหนดคุณสมบัติของผู้รับเหมา ที่ชัดเจน เช่น ต้องมีประสบการณ์มีลูกค้าอ้างอิงน่าเชื่อถือ หรือ ใบรับรองทางด้านทักษะวิชาชีพตาม มาตรฐานสากล มีความพร้อมด้านเทคโนโลยีของการรับเหมาทั้งในส่วนของฮาร์ดแวร์และซอฟท์แวร์รวมถึง
ระบบสนับสนุนอื่นๆ เพื่อให้ได้ผู้รับเหมาที่มีคุณสมบัติตรงตามมาตรฐานที่หน่วยงานต้องการ
(๒) มีข้อตกลงหรือสัญญาอย่างชัดเจนในการว่าจ้างผู้รับเหมา โดยต้องกําหนด ขอบเขตและระดับการรับเหมาอย่างชัดเจน และผู้รับเหมาต้องนําเสนอรายละเอียดงาน ขอบเขตงานให้
ครบถ้วน
(๓) หน่วยงานต้องเข้าไปตรวจสอบรายละเอียดของการปฏิบัติงานของ ผู้รับเหมาได้ เช่น ร่วมกําหนดวิธีการทํางาน การตรวจติดตามคุณภาพของผู้รับเหมาเป็นระยะๆ ตามที่กําหนด ไว้หรือการสุ่มตรวจสอบการปฏิบัติงานในจุดที่สําคัญ เพื่อพิจารณากระบวนการที่ผู้รับเหมาใช้ในการปฏิบัติงาน
และเพื่อประเมินความสม่ําเสมอของผู้รับเหมาในการดําเนินงานตามข้อกําหนดของหน่วยงาน
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๖
(๔) ต้องควบคุมการเข้าถึงของข้อมูลที่ชัดเจน ด้วยวิธีการควบคุมการเข้าถึง แบบเดียวกับบุคคลภายนอก โดยมีระบบบันทึกการเข้าถึงข้อมูล และการสํารองข้อมูลทุกขั้นตอน จํากัดการ
เข้าถึงข้อมูลสําคัญหรือให้ใช้ข้อมูลจากชุดจําลองแทนข้อมูลจริง
(๕) มีหลักเกณฑ์และกระบวนการในการตรวจรับงานที่ส่งมอบโดยผู้รับเหมาที่
ชัดเจน เพื่อให้ได้งานตรงตามมาตรฐานที่กําหนด
๑๑.๒.ระบบซึ่งไวต่อการรบกวน มีผลกระทบต่อคนกลุ่มใหญ่ หรือระบบที่มีความสําคัญ
ต่อหน่วยงานจะต้องดําเนินการดังนี้
๑๑.๒.๑. ระบบซึ่งไวต่อการรบกวน มีผลกระทบ และมีความสําคัญสูง ได้แก่ ระบบ
สารสนเทศบุคลากร ระบบสารสนเทศนักศึกษา และระบบสารสนเทศทางการเงิน ต้องแยกออกจากระบบอื่น และแสดงให้เห็นถึงผลกระทบและระดับความสําคัญต่อมหาวิทยาลัย
๑๑.๒.๒. ต้องควบคุมสภาพแวดล้อมของระบบซึ่งไวต่อการรบกวนโดยเฉพาะ
(๑) มีห้องปฏิบัติงานแยกเป็นสัดส่วน และต้องกําหนดสิทธิให้เฉพาะ
ผู้ที่มีหน้าที่ที่ได้รับมอบหมายเท่านั้น เข้าไปปฏิบัติงานในห้องควบคุมดังกล่าว
(๒) ติดตั้งระบบแยกต่างหากจากระบบสารสนเทศอื่น
(๓) ทําการป้องกันการมีทรัพยากรไม่เพียงพอ
(๔) มีระบบเฝ้าระวังการเข้าถึงข้อมูลสําคัญโดยผู้ไม่ได้รับอนุญาต
๑๑.๒.๓. ต้องควบคุมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสื่อสารเคลื่อนที่และการปฏิบัติงานจาก
ภายนอกองค์กร
๑๑.๓. การควบคุมอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสื่อสารเคลื่อนที่
๑๑.๓.๑. แนวปฏิบัติสําหรับการใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสื่อสารเคลื่อนที่ทั้งของ ส่วนตัวและอุปกรณ์ของทางราชการ
(๑) ต้องล็อกหรือยึดเครื่องให้อยู่กับที่กรณีที่นําเครื่องไปใช้ในที่สาธารณะ หรือ ในบริเวณที่มีความเสี่ยงต่อการสูญหาย
(๒) ต้องเปิดใช้ระบบล็อกหน้าจออัตโนมัติหรือปิดเครื่องอัตโนมัติเมื่อไม่ได้ ใช้งาน และในกรณีที่ไม่ได้ใช้งานเป็นการชั่วคราวต้องล็อกหน้าจอทุกครั้ง
(๓) ผู้ใช้ต้องตั้งรหัสผ่านเพื่อเข้าใช้งานคอมพิวเตอร์แบบพกพา
(๔) ไม่ใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์แบบพกพาร่วมกับบุคคลอื่น
(๕) ต้องตรวจสอบเพื่อหาไวรัสโดยโปรแกรมป้องกันไวรัส ก่อนการใช้งาน
สื่อบันทึกข้อมูลพกพาต่างๆ
(๖) ไม่เก็บข้อมูลสําคัญของหน่วยงานไว้บนอุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสื่อสาร เคลื่อนที่ที่ใช้งานอยู่ หากจําเป็นต้องจัดเก็บข้อมูลบนอุปกรณ์ดังกล่าวจะต้องเข้ารหัสข้อมูลทุกครั้ง
(๗) ห้ามใช้อุปกรณ์คอมพิวเตอร์และสื่อสารพกพา เป็นอุปกรณ์กระจาย สัญญาณเครือข่ายไร้สายภายในมหาวิทยาลัย
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๗
(๘) ต้องจัดการกับโปรแกรมไม่พึงประสงค์ในอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ประเภท พกพา เช่น ติดตั้งโปรแกรมป้องกันมัลแวร์ ปรับปรุงระบบปฏิบัติการให้ทันสมัย ไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์ผิดกฎหมาย
ไม่ติดตั้งซอฟต์แวร์ที่ไม่รู้จัก ฯลฯ
(๙) มีกระบวนการจัดการกรณีที่อุปกรณ์คอมพิวเตอร์พกพาเกิดการสูญหายหรือ
ถูกขโมย เช่น เปิดระบบล็อกไบออส เข้ารหัสไฟล์ข้อมูล เข้ารหัสฮาร์ดดิสก์ ติดตั้งโปรแกรมติดตามเครื่อง ฯลฯ ๑๑.๓.๒. การสํารองข้อมูลและการกู้คืน
(๑) ผู้ใช้งานต้องรับผิดชอบในการสํารองข้อมูลจากเครื่องคอมพิวเตอร์ไว้บน สื่อบันทึกข้อมูลสํารอง (backup media) เช่น ซีดี ดีวีดี ฮาร์ดดิสก์ภายนอก (External hard disks) เป็นต้น
(๒) ผู้ใช้งานมีหน้าที่เก็บรักษาสื่อบันทึกข้อมูลสํารองไว้ในสถานที่ที่เหมาะสม ไม่เสี่ยงต่อการรั่วไหลของข้อมูล และทดสอบการกู้คืนข้อมูลที่สํารองไว้อย่างสม่ําเสมอ
๑๑.๔. การปฏิบัติงานจากภายนอกสํานักงาน (Teleworking)
๑๑.๔.๑. ผู้ใช้งานระบบจากระยะไกล จะต้องได้รับการอนุมัติสิทธิจากผู้บริหารระดับสูง
ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (Chief Information Officer: CIO) โดยทําการเชื่อมต่อผ่านระบบ Virtual Private Network (VPN) ตามที่มหาวิทยาลัยกําหนด พร้อมทั้งทําการพิสูจน์ตัวตนก่อนเข้าใช้งาน
๑๑.๔.๒. ต้องรักษาความปลอดภัยสําหรับระบบสื่อสารข้อมูลระหว่างสถานที่ที่จะมี การปฏิบัติงานจากระยะไกลและระบบงานต่าง ๆ ภายในองค์กร
๑๑.๔.๓. มีมาตรการการรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางกายภาพสําหรับสถานที่ที่จะมี การปฏิบัติงานของผู้ใช้งานจากระยะไกล เพื่อป้องกันการขโมยอุปกรณ์การเข้าถึงข้อมูลโดยไม่ได้รับอนุญาต และการเชื่อมต่อจากระยะไกลโดยผู้ไม่ประสงค์ดีเพื่อเข้าสู่ระบบงานขององค์กร
๑๑.๔.๔. ต้องกําหนดให้ผู้ใช้งานระบบจากระยะไกลไม่อนุญาตให้ครอบครัวหรือเพื่อน ของตน รวมทั้งบุคคลอื่น เข้าถึงระบบเทคโนโลยีสารสนเทศขององค์กรในสถานที่ดังกล่าว
๑๑.๔.๕. ต้องตรวจสอบว่าอุปกรณ์ที่เป็นของส่วนตัวซึ่งใช้ในการเข้าถึงระบบสารสนเทศ ขององค์กรจากระยะไกลมีระบบป้องกันไวรัสและการใช้งานไฟร์วอลล์อย่างเหมาะสม
๑๑.๔.๖. ต้องกําหนดชนิดของงานที่อนุญาตและไม่อนุญาตให้เข้าถึงสําหรับ การปฏิบัติงานจากระยะไกล ชั่วโมงการทํางานในสถานที่ดังกล่าว ชั้นความลับของข้อมูลที่อนุญาตให้ใช้งานได้ และระบบงานและบริการต่างๆ ขององค์กรที่อนุญาตให้เข้าถึงได้จากระยะไกล
๑๒. การบริหารจัดการระบบจัดเก็บข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ (Traffic Log Management)
๑๒.๑.ต้องกําหนดผู้รักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ประจําหน่วยงาน และมี Log Server ของหน่วยงานสําหรับรวบรวมข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ที่พร้อมส่งมอบให้ผู้รักษาข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ของ มหาวิทยาลัยเมื่อมีการร้องขอ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๘
๑๒.๒.กําหนดวิธีการในการนําส่งข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์จากสื่อที่ใช้เก็บไปยัง Centralized Log Server ของหน่วยงาน
๑๒.๓. บันทึกการทํางานของเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและระบบเครือข่าย บันทึกการปฏิบัติงาน ของผู้ใช้งาน และบันทึกรายละเอียดของระบบป้องกันการบุกรุกได้แก่ บันทึกการเข้าออกระบบ ซึ่งประกอบด้วย บัญชีผู้ใช้ หมายเลขไอพีแอดเดรสต้นทาง หมายเลขไอพีแอดเดรสปลายทาง โปรโตคอล และหมายเลขพอร์ต เพื่อประโยชน์ในการใช้ตรวจสอบและเก็บบันทึกดังกล่าวไว้ตามที่กําหนด ไว้ในพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์
๑๒.๔. ตรวจสอบบันทึกการปฏิบัติงานของผู้ใช้งานอย่างสม่ําเสมอ
๑๒.๕. กําหนดวิธีการป้องกันการแก้ไข เปลี่ยนแปลง หรือทําลาย ข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์ต่างๆ และจํากัดสิทธิการเข้าถึงข้อมูลจราจรคอมพิวเตอร์เฉพาะบุคคลที่เกี่ยวข้องเท่านั้น
๑๓. หน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ดูแลระบบ (System Administrator Responsibilities)
๑๓.๑. ผู้ดูแลระบบ แบ่งออกเป็น ๓ กลุ่ม ประกอบด้วย
๑๓.๑.๑. ผู้ดูแลระบบเครือข่าย (system administrator)
๑๓.๑.๒. ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย (network administrator) ๑๓.๑.๓. ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ (application administrator)
๑๓.๒.ผู้ดูแลระบบเครือข่าย มีหน้าที่และความรับผิดชอบ ดังนี้
๑๓.๒.๑. ดูแลรักษาและตรวจสอบอุปกรณ์เครือข่ายและช่องทางการสื่อสารของ
ระบบเครือข่ายอยู่เสมอ และปิดช่องทางการสื่อสารของระบบเครือข่ายที่ไม่มีความจําเป็นต้องใช้งานในทันที ๑๓.๒.๒. เก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์เท่าที่จําเป็นเพื่อให้สามารถระบุตัวตน ผู้ใช้งานนับตั้งแต่เริ่มใช้บริการ และต้องเก็บรักษาไว้เป็นระยะเวลาตามที่กฎหมายกําหนดนับตั้งแต่การใช้
บริการสิ้นสุดลง และการเก็บรักษาข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ต้องใช้วิธีการที่มั่นคงปลอดภัย ดังต่อไปนี้
(๑) มีระบบการเก็บรักษาความลับของข้อมูลที่จัดเก็บและกําหนดชั้นความลับ ในการเข้าถึงข้อมูลดังกล่าว เพื่อรักษาความครบถ้วนถูกต้องและความน่าเชื่อถือของข้อมูลและไม่ให้ผู้ดูแล ระบบสามารถแก้ไขข้อมูลที่เก็บรักษาไว้เว้นแต่ ได้มีการกําหนดผู้ที่สามารถเข้าถึงข้อมูลได้ เช่น ผู้ตรวจสอบ
ระบบสารสนเทศของหน่วยงาน หรือบุคคลที่หน่วยงานมอบหมาย
(๒) ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ต้องระบุรายละเอียดผู้ใช้งานเป็นรายบุคคลได้
(๓) ข้อมูลจราจรทางคอมพิวเตอร์ต้องบันทึกอ้างอิงเวลากับ time.uni.net.th
หรือ clock.nectec.or.th
๑๓.๓.ผู้ดูแลระบบคอมพิวเตอร์แม่ข่าย มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
๑๓.๓.๑. ตรวจสอบดูแลรักษาการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายของหน่วยงาน ให้เป็นไปด้วยความเรียบร้อย และมีประสิทธิภาพ หากตรวจพบสิ่งผิดปกติเกี่ยวกับการใช้งานเครื่อง คอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้รีบดําเนินการแก้ไข รวมทั้งป้องกันและบรรเทาความเสียหายที่อาจจะเกิดขึ้นในทันที
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๒๙
ในกรณีที่สิ่งผิดปกติดังกล่าวเกิดขึ้นจากการใช้งานของผู้ใช้งานที่ไม่เป็นไปตามนโยบายนี้ให้รีบแจ้งผู้ใช้งานผู้นั้น ให้ยุติการกระทําในทันที และในกรณีจําเป็น เพื่อป้องกันหรือบรรเทาความเสียหายที่จะเกิดขึ้นแก่หน่วยงาน ให้ผู้ดูแลระบบพิจารณาระงับการใช้งานของผู้ใช้งานทันที
๑๓.๓.๒. ติดตั้งและปรับปรุงโปรแกรมคอมพิวเตอร์สําหรับแก้ไขข้อบกพร่องของ เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ให้มีความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานและทันสมัยอยู่เสมอ
๑๓.๓.๓. ติดตั้งโปรแกรมสําหรับจัดการโปรแกรมไม่ประสงค์ดีต่างๆ ให้เหมาะสม ๑๓.๓.๔. ตรวจสอบความมั่นคงปลอดภัยในการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่าย ๑๓.๓.๕. ดูแลรักษาและปรับปรุงระบบบัญชีผู้ใช้เครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายให้ถูกต้อง
และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
๑๓.๔.ผู้ดูแลระบบสารสนเทศ มีหน้าที่และความรับผิดชอบดังนี้
๑๓.๔.๑. ดูแลรักษาและปรับปรุงบัญชีผู้ใช้ระบบสารสนเทศให้ถูกต้องและเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
๑๓.๔.๒. ปรับปรุงรายการระบบสารสนเทศและรายการอุปกรณ์ที่เกี่ยวข้องกับ ระบบสารสนเทศนั้นให้ถูกต้อง และเป็นปัจจุบันอยู่เสมอ
๑๓.๕. หลักธรรมาภิบาลของผู้ดูแลระบบ
๑๓.๕.๑. ไม่ใช้อํานาจหน้าที่ของตนในการเข้าถึงข้อมูลของผู้ใช้งานโดยไม่มีเหตุผล
อันสมควร
๑๓.๕.๒. ไม่กระทําการอื่นใดที่มีลักษณะเป็นการละเมิดสิทธิหรือข้อมูลส่วนบุคคลของ ผู้ใช้งานหรือมีข้อมูลส่วนบุคคลจัดเก็บไว้ในระบบคอมพิวเตอร์โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
๑๓.๕.๓. ไม่เปิดเผยข้อมูลที่ได้มาจากการปฏิบัติหน้าที่ ซึ่งข้อมูลดังกล่าวเป็นข้อมูลที่ ไม่เปิดเผยให้บุคคลหนึ่งบุคคลใดทราบ โดยไม่มีเหตุผลอันสมควร
๑๔. การใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ (Use of Social Network)
๑๔.๑. การใช้งานหรือใช้บริการเว็บไซต์เครือข่ายสังคมออนไลน์ ต้องใช้งานเพื่อประโยชน์ ของทางราชการเป็นสําคัญ
๑๔.๒. ในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ผู้ใช้งานต้องไม่เปิดเผยข้อมูลที่สําคัญ และเป็นความลับของมหาวิทยาลัย
๑๔.๓. ในการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ผู้ใช้งานต้องไม่เสนอความคิดเห็นหรือใช้ข้อความ ที่ยั่วยุ ให้ร้ายที่จะทําให้เกิดความเสื่อมเสียต่อชื่อเสียงของมหาวิทยาลัย
๑๔.๔. หากผู้ใช้งานทราบหรือรู้สึกในภายหลังว่าการใช้งานเครือข่ายสังคมออนไลน์ของท่าน อาจมีผลกระทบกับมหาวิทยาลัย ผู้ใช้งานต้องแจ้งศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศโดยเร็วที่สุด เพื่อดําเนินการ ตามความเหมาะสม
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๐
๑๕. การรักษาความมั่นคงปลอดภัยทางด้านกายภาพและสิ่งแวดล้อม (Physical and Environmental Security)
๑๕.๑. การจัดการบริเวณแวดล้อมทางกายภาพ
๑๕.๑.๑. กําหนดระดับความสําคัญของพื้นที่หรือการจําแนกพื้นที่ใช้งาน
๑๕.๑.๒. กําหนดระบบป้องกันการบุกรุกที่ติดตั้งให้ครอบคลุมพื้นที่หรือบริเวณ
ที่มีความสําคัญ
๑๕.๑.๓. ดําเนินการทดสอบระบบป้องกันการบุกรุกทางกายภาพอย่างสม่ําเสมอ เพื่อตรวจสอบว่ายังใช้งานได้ตามปกติ
๑๕.๒. การควบคุมการเข้า-ออกพื้นที่ทางกายภาพ
๑๕.๒.๑. ไม่อนุญาตให้ผู้ไม่มีกิจเข้าไปในพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญ
๑๕.๒.๒. ต้องควบคุมการเข้าถึงพื้นที่ที่มีข้อมูลสําคัญจัดเก็บหรือประมวลผลอยู่ ๑๕.๒.๓. มีกลไกการอนุญาตการเข้าถึงพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญ
ของบุคคลภายนอกและต้องมีเหตุผลที่เพียงพอในการเข้าถึงพื้นที่ดังกล่าว
๑๕.๒.๔. ต้องพิสูจน์ตัวตน เช่น การใช้บัตรรูด การใช้รหัสผ่าน เพื่อควบคุมการเข้า-ออก
ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญ เช่น ห้องศูนย์กลางข้อมูล (data center)
๑๕.๒.๕. ต้องบันทึกวันและเวลาเข้า-ออก ของผู้ที่มาเยือน และจัดเก็บบันทึกไว้
เพื่อใช้ในการตรวจสอบในภายหลังเมื่อมีความจําเป็น
๑๕.๒.๖. มีบันทึกรายการอุปกรณ์ที่นําเข้า-ออก
๑๕.๒.๗. ดูแลผู้ที่มาเยือนจนกระทั่งเสร็จสิ้นภารกิจ เพื่อป้องกันการสูญหาย ของทรัพย์สิน และป้องกันการเข้าถึงพื้นที่ส่วนอื่นที่ไม่ได้รับอนุญาต
๑๕.๒.๘. ต้องควบคุมหน่วยงานภายนอกในการนําอุปกรณ์คอมพิวเตอร์หรืออุปกรณ์ ที่ใช้ในการปฏิบัติงานมาปฏิบัติงานในพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญ
๑๕.๒.๙. สร้างความตระหนักให้ผู้ที่มาเยือนจากภายนอกเข้าใจในกฎเกณฑ์หรือ ข้อกําหนดต่างๆ ที่ต้องปฏิบัติระหว่างที่อยู่ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญ
๑๕.๒.๑๐. เจ้าหน้าที่ของบริษัท ผู้ได้รับการว่าจ้างหรือผู้ที่มาเยือน ต้องติดบัตรให้ เห็นชัดตลอดระยะเวลาการปฏิบัติงาน
๑๕.๒.๑๑. ต้องดูแลและเฝ้าระวังการปฏิบัติงานของบุคคลภายนอกในขณะที่ปฏิบัติการ ในพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญ
๑๕.๒.๑๒. ต้องทบทวนหรือยกเลิกสิทธิการเข้าถึงพื้นที่หรือบริเวณที่มีความสําคัญอย่าง
สม่ําเสมอ
๑๕.๓. การจัดบริเวณสําหรับการเข้าถึงหรือการส่งมอบผลิตภัณฑ์โดยบุคคลภายนอก
๑๕.๓.๑. จํากัดการเข้าถึงพื้นที่หรือบริเวณที่มีการส่งมอบหรือขนถ่ายผลิตภัณฑ์ เพื่อป้องกันการเข้าถึงโดยไม่ได้รับอนุญาต
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๑
๑๕.๓.๒. จํากัดบุคคลซึ่งสามารถเข้าถึงพื้นที่หรือบริเวณส่งมอบนั้น
๑๕.๓.๓. จัดพื้นที่หรือบริเวณที่ส่งมอบไว้ในบริเวณต่างหากเพื่อหลีกเลียงการเข้าถึง พื้นที่อื่นๆ ภายในมหาวิทยาลัย
๑๕.๓.๔. ให้ตรวจสอบผลิตภัณฑ์ที่เป็นอันตรายก่อนที่จะโอนย้ายไปยังพื้นที่ใช้งาน
๑๕.๓.๕. ลงทะเบียนและตรวจนับผลิตภัณฑ์ที่ส่งมอบโดยผู้ขายหรือผู้ให้บริการ ภายนอกให้สอดคล้องกับระเบียบพัสดุ หรือขั้นตอนปฏิบัติสําหรับการบริหารจัดการทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
๑๕.๔. การสร้างความมั่นคงปลอดภัยสําหรับเอกสารระบบ
๑๕.๔.๑. จัดเก็บเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศไว้ในสถานที่ที่มั่นคงปลอดภัย ๑๕.๔.๒. ต้องควบคุมการเข้าถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศเฉพาะ
ผู้เกี่ยวข้องเท่านั้น
๑๕.๔.๓. ควบคุมการเข้าถึงเอกสารที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศที่จัดเก็บ หรือเผยแพร่อยู่บนเครือข่ายสาธารณะ เช่น อินเทอร์เน็ต เพื่อป้องกันการเข้าถึงหรือเปลี่ยนแปลงแก้ไขเอกสารนั้น
๑๕.๕. การนําทรัพย์สินของมหาวิทยาลัยออกนอกสํานักงาน
๑๕.๕.๑. ต้องขออนุญาตก่อนนําอุปกรณ์หรือทรัพย์สินออกนอกมหาวิทยาลัย
๑๕.๕.๒. บันทึกข้อมูลการนําอุปกรณ์ของมหาวิทยาลัยออกนอกสํานักงาน เพื่อใช้
เป็นหลักฐานป้องกันการสูญหาย รวมทั้งบันทึกข้อมูลเพิ่มเติมเมื่อนําอุปกรณ์ส่งคืน
๑๕.๕.๓. ให้เจ้าหน้าที่มีความรับผิดชอบดูแลอุปกรณ์หรือทรัพย์สินของมหาวิทยาลัย
เสมือนเป็นทรัพย์สินของตนเอง
๑๕.๖. ระบบและอุปกรณ์สนับสนุนการทํางาน
๑๕.๖.๑. ต้องสนับสนุนการทํางานของระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารของ มหาวิทยาลัยที่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน โดยให้มี
(๑) ระบบสํารองกระแสไฟฟ้า
(๒) เครื่องกําเนิดกระแสไฟฟ้าสํารอง
(๓) ระบบระบายอากาศ
(๔) ระบบปรับอากาศและควบคุมความชื้น (๕) ระบบป้องกันอัคคีภัย
๑๕.๖.๒. ต้องตรวจสอบหรือทดสอบระบบสนับสนุนเหล่านั้นอย่างสม่ําเสมอ เพื่อให้ มั่นใจได้ว่าระบบทํางานปกติและลดความเสี่ยงจากการล้มเหลวในการทํางานของระบบ
๑๕.๖.๓. ติดตั้งระบบแจ้งเตือน เพื่อแจ้งเตือนกรณีที่ระบบสนับสนุนการทํางาน ทํางาน ผิดปกติหรือหยุดทํางาน
๑๕.๖.๔. จัดทําแผนผังแสดงพื้นที่ใช้งานระบบเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร ให้ผู้เกยี่วข้องรับทราบ
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๒
ส่วนที่ ๒ นโยบายการจัดทําระบบสํารองข้อมูลและการกู้คืน (Backup and Recovery Policy)
วัตถุประสงค์
๑. เพื่อให้ระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยมีสภาพพร้อมใช้และให้บริการได้อย่างต่อเนื่อง
๒. เพื่อกําหนดแนวปฏิบัติการจัดทําระบบสํารอง การสํารองข้อมูล และการกู้คืนข้อมูล ให้ผู้ดูแล ระบบเครือข่าย ผู้ดูแลเครื่องคอมพิวเตอร์แม่ข่ายและผู้ดูแลระบบสารสนเทศหน่วยงานถือปฏิบัติ เพื่อให้มั่นใจ ได้ว่ามีระบบสํารองที่สามารถทํางานแทนระบบหลักได้ในกรณีที่ระบบหลักมีปัญหา ต้องสํารองข้อมูล และสามารถกู้คืนข้อมูลได้ในกรณีที่จําเป็น
ผู้รับผิดชอบ
๑. ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
๒. ผู้ดูแลระบบที่ได้รับมอบหมาย
๓. เจ้าหน้าที่ของคณะ/หน่วยงานที่ได้รับมอบหมาย
อ้างอิงมาตรฐาน
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
แนวปฏิบัติ
๑. ระบบสํารอง (disaster recovery site: DR site)
๑.๑. จัดทําบัญชีระบบเครือข่ายและระบบสารสนเทศที่สําคัญและจําเป็นต้องมีระบบสํารอง
และทบทวนบัญชีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๑.๒. ระบบสํารองต้องอยู่ในห้องหรือพื้นที่ที่ต่างจากระบบหลัก และมีการควบคุม ดังนี้
๑.๒.๑. มีระบบการควบคุมการเข้าถึงที่อนุญาตเฉพาะผู้มีหน้าที่เกี่ยวข้อง ๑.๒.๒. มีระบบไฟฟ้าสํารอง
๑.๒.๓. มีระบบปรับอากาศและความชื้นที่เหมาะสม
๑.๒.๔. มีระบบป้องกันอัคคีภัย
๑.๒.๕. มีระบบส่องสว่างที่เหมาะสม
๑.๒.๖. มีระบบสื่อสารหรือระบบเครือข่ายสํารอง
๑.๒.๗. มีระบบแจ้งเตือนกรณีที่ระบบสนับสนุนทํางานผิดปกติหรือหยุดการทํางาน
๑.๓. มีแผนบํารุงรักษาระบบสํารองทุกระบบอย่างต่อเนื่อง ๒. การสํารองข้อมูล (Data Backup)
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๓
๒.๑. จัดทําบัญชีระบบสารสนเทศที่มีความสําคัญทั้งหมดของหน่วยงานที่จะทําการสํารองข้อมูล และทบทวนบัญชีอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒.๒. กําหนดวิธีการสํารองข้อมูลของระบบสารสนเทศแต่ละระบบ
๒.๓. กําหนดความถี่ในการสํารองข้อมูล ระบบที่มีความสําคัญสูง หรือระบบ ที่มีการเปลี่ยนแปลงบ่อย ต้องกําหนดให้มีความถี่ในการสํารองข้อมูลมากขึ้น
๒.๔. บันทึกข้อมูลที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมการสํารองข้อมูล ได้แก่ ผู้ดําเนินการ วัน/เวลา ชื่อข้อมูลทสี่ ํารอง สถานะการทํางานสําเร็จ/ไม่สําเร็จ
๒.๕. ตรวจสอบข้อมูลทั้งหมดของระบบว่ามีการสํารองข้อมูลไว้อย่างครบถ้วนเช่นซอฟต์แวร์ ต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับระบบสารสนเทศ ข้อมูลในฐานข้อมูล และ ข้อมูลการตั้งค่าระบบและอุปกรณ์ต่างๆ
๒.๖. จัดเก็บข้อมูลสํารองไว้ในระบบสํารอง
๒.๗. ดําเนินการป้องกันทางกายภาพอย่างเพียงพอต่อสถานที่สํารองที่ใช้จัดเก็บข้อมูลสํารอง ๒.๘. มีแผนเตรียมพร้อมกรณีฉุกเฉินในกรณีที่ไม่สามารถดําเนินการด้วยวิธีการ
ทางอิเล็กทรอนิกส์ ดังนี้
๒.๘.๑. ต้องกําหนดหน้าที่ และความรับผิดชอบของผู้ที่เกี่ยวข้องทั้งหมด
๒.๘.๒. ต้องประเมินความเสี่ยงสําหรับระบบที่มีความสําคัญเหล่านั้น และกําหนด มาตรการเพื่อลดความเสี่ยงเหล่านั้น เช่น ไฟดับเป็นระยะเวลานาน ไฟไหม้ แผ่นดินไหว การชุมนุมประท้วง ทําให้ไม่สามารถเข้ามาใช้ระบบงานได้
๒.๘.๓. ต้องกําหนดขั้นตอนปฏิบัติในการกู้คืนระบบสารสนเทศ
๒.๘.๔. ต้องกําหนดขั้นตอนปฏิบัติในการสํารองข้อมูล และทดสอบกู้คืนข้อมูลที่สํารองไว้ ๒.๘.๕. ต้องทบทวนเพื่อปรับปรุงแผนเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินดังกล่าวให้สามารถ
ปรับใช้ได้อย่างเหมาะสมและสอดคล้องกับการใช้งานตามภารกิจ อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๓. การกู้คืนข้อมูล (Data Recovery)
๓.๑. จัดทําขั้นตอนปฏิบัติสําหรับการกู้คืนข้อมูลและตรวจสอบประสิทธิภาพและประสิทธิผล ของขั้นตอนปฏิบัติอย่างสม่ําเสมอ
๓.๒. ตรวจสอบผลการบันทึกข้อมูลสํารองอย่างสม่ําเสมอเพื่อตรวจสอบว่ายังคงสามารถเข้าถึง ข้อมูลได้ตามปกติ
๓.๓. ให้ใช้ข้อมูลทันสมัยที่สุด(LatestUpdate)ที่ได้สํารองไว้หรือตามความเหมาะสมเพื่อ กู้คืนระบบ
๓.๔. ทดสอบการกู้คืนข้อมูลที่ได้ทําการสํารองไว้อย่างสม่ําเสมออย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง ๔. การทดสอบสภาพพร้อมใช้งาน
๔.๑. ต้องทดสอบสภาพพร้อมใช้ของระบบสารสนเทศระบบสํารองระบบสํารองข้อมูลและ แผนเตรียมความพร้อมกรณีฉุกเฉินอย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๔
วัตถุประสงค์
ส่วนที่ ๓ นโยบายการตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงสารสนเทศ (Verification and Information Risk Assessment Policy)
เพื่อให้ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่ายได้รับทราบถึงหน้าที่ ความรับผิดชอบ และความจําเป็นในการประเมินความ เสี่ยงสารสนเทศ เพื่อหาแนวทางป้องกันภัยคุกคามและการโจมตีต่างๆ ซึ่งทําให้ระบบสารสนเทศของ มหาวิทยาลัยหรือของหน่วยงานมีความปลอดภัยและมีความพร้อมใช้งานอยู่เสมอ
ผู้รับผิดชอบ
๑. ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ ๒. ผู้ดูแลระบบที่ได้รับมอบหมาย ๓. หน่วยตรวจสอบภายใน
อ้างอิงมาตรฐาน
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
แนวปฏิบัติ
๑. หน่วยงานจะต้องตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านสารสนเทศที่อาจเกิดขึ้นกับระบบสารสนเทศ โดยต้องตรวจสอบและประเมินความเสี่ยงด้านสารสนเทศโดยผู้ตรวจสอบภายใน อย่างน้อยปีละ ๑ ครั้ง
๒. ระบุความเสี่ยงและผลกระทบของความเสี่ยงให้สอดคล้องตามแผนบริหารความเสี่ยงของ หน่วยงานเพื่อการประเมินความเสี่ยงนั้น ดังต่อไปนี้
๒.๑. ความเสี่ยงที่เกิดจากการลักลอบเข้าทางระบบปฏิบัติการเพื่อยึดครองเครื่องคอมพิวเตอร์ แม่ข่ายผ่านระบบอินเทอร์เน็ต
๒.๒. ความเสี่ยงที่เกิดจากการลักลอบเข้าเชื่อมโยงกับระบบเครือข่ายไร้สายโดยไม่ได้รับอนุญาต
๒.๓. ความเสี่ยงที่เกิดจากเครื่องมือด้านเทคโนโลยีสารสนเทศหรือระบบเครือข่ายเกิดการ ขัดข้องระหว่างการใช้งาน
๒.๔. ความเสี่ยงที่เกิดจากการลงบันทึกเข้าสารสนเทศที่สําคัญผ่านระบบเครือข่ายของผู้ใช้งาน คนเดียวกันมากกว่าหนึ่งจุด
๒.๕. ความเสี่ยงที่เกิดจากการลักลอบใช้บัญชีผู้ใช้และรหัสผ่านของผู้อื่นโดยไม่ได้รับอนุญาต
๒.๖. ความเสี่ยงที่เกิดจากความเสียหายทางกายภาพเช่นไฟไหม้น้ําท่วมอุปกรณ์สูญหายเป็นต้น ๓. กําหนดวิธีการในการประเมินความเสี่ยงและความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงนั้น ๔. การประเมินความเสี่ยงให้คํานึงถึงองค์ประกอบดังต่อไปนี้
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๕
๔.๑. ระดับความน่าจะเป็นที่จะเกิดความเสี่ยงที่ระบุ
๔.๒. ระดับความรุนแรงของผลกระทบที่เกิดจากความเสี่ยงที่ระบุ ๔.๓. ภัยคุกคามหรือสิ่งที่อาจก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ระบุ
๔.๔. จุดอ่อนหรือช่องโหว่ที่อาจถูกใช้ในการก่อให้เกิดเหตุการณ์ที่ระบุ
๕. ต้องแสดงผลการตรวจสอบตามนโยบายการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศเป็น ส่วนหนึ่งของการรายงานผลการติดตาม ตรวจสอบ และประเมินผลงานด้านเทคโนโลยีสารสนเทศและ การสื่อสาร
นโยบายและแนวปฏิบัติในการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ มหาวิทยาลัยราชภัฏสุราษฎร์ธานี หน้าที่ ๓๖
ส่วนที่ ๔ นโยบายการสร้างความตระหนักในเรื่องการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ (Information Security Awareness Policy)
วัตถุประสงค์
เพื่อเผยแพร่นโยบายและแนวปฏิบัติให้กับบุคลากรและผู้เกี่ยวข้อง ได้มีความรู้ความเข้าใจและ ตระหนักถึงความสําคัญของการรักษาความมั่นคงปลอดภัยด้านสารสนเทศ ตลอดจนสามารถนําไปปฏิบัติได้ อย่างถูกต้อง
ผู้รับผิดชอบ
๑. ศูนย์คอมพิวเตอร์และสารสนเทศ
๒. หน่วยงานที่ได้รับมอบหมายในการจัดฝึกอบรม ๓. ผู้ดูแลระบบที่ได้รับมอบหมาย
๔. เจ้าหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย
อ้างอิงมาตรฐาน
มาตรฐานการรักษาความมั่นคงปลอดภัยในการประกอบธุรกรรมทางอิเล็กทรอนิกส์
แนวปฏิบัติ
๑. ต้องกําหนดหลักสูตรการฝึกอบรมเกี่ยวกับการสร้างความตระหนักเรื่องความมั่นคงปลอดภัย สารสนเทศ โดยอาจใช้วิธีการเสริมเนื้อหาแนวปฏิบัติตามนโยบายเข้ากับหลักสูตรอบรมต่าง ๆ ตามแผนการ ฝึกอบรมของหน่วยงาน
๒. อบรมให้ความรู้ความเข้าใจกับผู้ใช้งาน เพื่อให้เกิดความตระหนัก ความเข้าใจถึงภัย และผลกระทบที่เกิดจากการใช้งานระบบสารสนเทศโดยไม่ระมัดระวังหรือรู้เท่าไม่ถึงการณ์ รวมถึงกําหนดให้มี มาตรการเชิงป้องกันตามความเหมาะสม
๓. จัดฝึกอบรมการใช้งานสารสนเทศของมหาวิทยาลัยอย่างสม่ําเสมอ หรือทุกครั้งที่มีการปรับปรุง หรือเปลี่ยนแปลงการใช้งานของระบบสารสนเทศ
๔. จัดทําคู่มือการใช้งานระบบสารสนเทศอย่างปลอดภัย และเผยแพร่ทางเว็บไซต์ของหน่วยงาน
๕. ให้ความรู้เกี่ยวกับแนวปฏิบัติในลักษณะเกร็ดความรู้หรือข้อควรระวังในรูปแบบที่สามารถเข้าใจ และนําไปปฏิบัติได้ง่าย ซึ่งมีการปรับเปลี่ยนเกร็ดความรู้อยู่เสมอ เช่น การติดประกาศ ประชาสัมพันธ์แผ่นพับ เผยแพร่ผ่านเว็บไซต์ ฯลฯ
๖. ระดมการมีส่วนร่วมและลงสู่ภาคปฏิบัติด้วยการกํากับ ติดตาม ประเมินผล และสํารวจ ความต้องการของผู้ใช้